การประเมินประสิทธิภาพของการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและปรสิตในตะกอนอุจจาระด้วยเครื่องอัตโนมัติ FA280

ผู้แต่ง

  • อนุชิน นาเจิมพลอย หน่วยจุลทรรศน์วินิจฉัย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  • รุจนันท์ คะเชนทร์ชาติ หน่วยจุลทรรศน์วินิจฉัย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  • เจนจิรา เจริญชัย หน่วยจุลทรรศน์วินิจฉัย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  • ประสงค์ แคน้ำ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การตรวจวิเคราะห์อุจจาระ , เครื่องตรวจตะกอนอุจจาระอัตโนมัติ , การประเมินประสิทธิภาพ, การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ

บทคัดย่อ

เครื่องตรวจตะกอนอุจจาระอัตโนมัติเป็นเครื่องมือที่เริ่มมีการใช้งานในห้องปฏิบัติการในประเทศไทย เนื่องจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การใช้เทคนิคการตรวจแบบเข้มข้นและมีขั้นตอนอัตโนมัติจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรบุคคลและเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจวินิจฉัยได้ ห้องปฏิบัติการจึงควรประเมินประสิทธิภาพของเครื่องก่อนนำมาใช้งาน โดยการศึกษานี้ได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดำเนินการ และความสามารถในการตรวจตะกอนอุจจาระของเครื่อง ORIENTER รุ่น FA280 เทียบกับวิธี normal saline simple smear ในตัวอย่าง 300 ราย ที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และตัวอย่าง 61 รายจากกลุ่มนี้ใช้ในการตรวจเลือดแฝงเทียบกับชุดทดสอบของบริษัท Boson Biotech ผลการศึกษาพบว่าเครื่อง ORIENTER รุ่น FA280 สามารถลดขั้นตอนการทดสอบ 2 ชนิดนี้ได้จาก 8 ขั้นตอนเหลือ 3 ขั้นตอน โดยเฉพาะขั้นตอนการจัดการตัวอย่าง ส่วนการแยกชนิดสิ่งที่พบในตะกอนอุจจาระพบว่าเครื่อง ORIENTER รุ่น FA280 ให้ความแรงของความหนาแน่นของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และยีสต์มากกว่าวิธี simple smear เล็กน้อย (Cohen’s kappa อยู่ระหว่าง 0.37-0.45) แต่เนื่องจากมีความแตกต่างเพียง 1 ระดับจึงถือว่าเป็นความแตกต่างที่ยอมรับได้ สำหรับการตรวจวินิจฉัยปรสิตและการตรวจหาเลือดแฝงพบว่าทั้งสองวิธีมีความสอดคล้องกันสูง (Cohen’s kappa = 0.82 และ 0.93 ตามลำดับ) แต่เครื่อง ORIENTER รุ่น FA280 จะมีโอกาสตรวจหาตัวอ่อนของหนอนพยาธิและโปรโตซัวได้ดีกว่า โดยสรุปเครื่องตรวจตะกอนอุจจาระอัตโนมัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานได้ อย่างไรก็ตามห้องปฏิบัติการควรทำการประเมินอย่างต่อเนื่องระหว่างการใช้งาน เพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องให้ได้ประโยชน์สูงสุด

References

Yahom S, Kullawat J, Boonsai D, Chatuphonprasert W, Thanchomnang T, Radomyos P. The prevalence of intestinal parasitic infections in Maha Sarakham and Kalasin Provinces. J Trop Med Parasito 2013; 36: 29-33.

Thathaisong U. Important food-borne and water-borne pathogenic parasites in Thailand. Burapha Sci J 2012; 17: 212-20

Doi R, Itoh M, Chakhatrakan S, Uga S. Epidemiological investigation of parasitic infection of schoolchildren from six elementary schools in Sakon Nakhon Province, Thailand. Kobe J Med Sci 2016; 62: E120-8

Kaewpitoon SJ, Sangwalee W, Kujapun J, et al. Active screening of gastrointestinal helminth infection in migrant workers in Thailand. J Int Med Res 2018; 46: 4560-8.

Lee YJ, Won EJ, Cho YC, Kim SH, Shin MG, Shin JH. Utility of an automatic vision-based examination system (AVE-562) for the detection of Clonorchis sinensis eggs in stool. Ann Lab Med 2020; 41: 221-4.

Intra J, Taverna E, Sala MR, Falbo R, Cappellini F, Brambilla P. Detection of intestinal parasites by use of the cuvette- based automated microscopy analyser sediMAX®. Clin Microbiol Infect 2016; 22: 279-84.

Shunsai N, Sahaisook P. Comparison of Stool Examination Techniques to Diagnose Parasitic Infection Using Semi-Automate Feces Analysis System (Sciendox 50) and Simple Smear Technique. J Med Tech Assoc Thailand 2002; 50: 8008-15.

Boonyong S, Hunnangkul S, Vijit S, et al. High-throughput detection of parasites and ova in stool using the fully automatic digital feces analyzer, orienter model fa280. Parasit Vectors 2024; 17: 13.

https://idostatistics.com/cohen-kappa-free-calculator/ [cited 2023 Jul 4]

Aiadsakun P, Sriwimol W, Thongbun N, et al. Comparison of the complete filtration method using an automated feces analyzer with three manual methods for stool examinations. J Microbiol Methods 2022; 192: 106394.

Perakanya P, Ungcharoen R, Worrabannakorn S, et al. Prevalence and risk factors of Opisthorchis viverrine infection in Sakon Nakhon Province, Thailand. Trop Med Infect Dis 2022; 7: 313.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ