การต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณรวมของสารประกอบฟีนอลิก และสมบัติการสมานแผลของสารสกัดจากส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่

ผู้แต่ง

  • ปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ
  • ปิยมาภรณ์ แผนคู้ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ
  • ธนาภร จาตุรนต์วาณิชย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ
  • รุ่งระวี เพชรเศรษฐ์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ
  • อสมาภรณ์ ณ บางช้าง คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ
  • กนกพร ก้องเวหา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ
  • ฐิตาภรณ์ ทิศเกลี้ยง คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ
  • กิตติพัฒน์ โสภิตธรรมคุณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

สารต้านอนุมูลอิสระ, การวัดค่าการสมานแผล ปริมาณรวมสารประกอบฟีนอลิก ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสมบัติการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ ได้แก่ การต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณรวมของสารประกอบฟีนอลิก และสมบัติการสมานแผล
สารสกัดจากส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่เตรียมจากเปลือกชั้นนอก เปลือกชั้นกลาง เยื่อหุ้มเนื้อ และเนื้อผล ด้วยการแช่ในเฮกเซน และเมทานอล การต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด พบในชั้นเมทานอลในเนื้อผล มีค่า IC50
ต่ออนุมูลอิสระ DPPH เท่ากับ 1.021 ± 0.031 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่ค่าการต้านอนุมูลอิสระ ABTS พบในส่วนของเปลือกชั้นกลางในชั้นเมทานอล มีค่า IC50 เท่ากับ 0.126 ± 0.004 มิลลิกรัมต่อ
มิลลิลิตร สารประกอบฟีนอลิกมีปริมาณรวมสูงสุดในชั้นเมทานอลในส่วนเยื่อหุ้มเนื้อผล มีค่าเทียบเท่า3.196 ± 0.022 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมน้ำหนักแห้งของสารสกัด ผลการทดสอบความ
เป็นพิษต่อเซลล์ HaCaT ด้วยวิธี MTT ที่ความเข้มข้นของสารสกัดที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ สารสกัดจากเปลือกชั้นนอก เปลือกชั้นกลาง และเนื้อผล ในเฮกเซนและเมทานอล ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์
ทดสอบที่ความเข้มข้น 0.5 และ 1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ที่ความเข้มข้นที่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์นี้ สารสกัดจากเปลือกชั้นนอกในเมทานอล และสารสกัดจากเปลือกชั้นกลางใน
เมทานอลและเฮกเซน สามารถลดพื้นที่รอยแผลให้เล็กลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับตัวแปรควบคุม (p < 0.05) สรุปได้ว่า สารสกัดจากส้มโอมีทั้งฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์การสมานแผล การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการสมานแผล สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องบาดแผลเรื้อรัง รวมทั้งเป็นการนำของเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกทางหนึ่งด้วย

References

Niyomdham C. Citrus maxima (Burm.) Merr. Verheij, E.W.M. and Coronel, R.E. (Editors). Plant Resources of South-East Asia No. 2. Edible fruits and nuts. PROSEA Foundation, Bogor, Indonesia. Database record: 1991 [cited 2023 Dec 4]. Available from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/information/authors

Yang Z, Chen Q. Enzymatic preparation and characterization of honey pomelo peel cellulose and its cellulose nanofibers. Ind Crops Prod 2023; 206: 117655.

Ni J, Shangguan Y, Jiang L, He C, Ma Y, Xiong H. Pomelo peel dietary fiber ameliorates alterations in obesity-related features and gut microbiota dysbiosis in mice fed on a high-fat diet. Food Chem 2023; 100993: 1-9.

Mäkynen K, Jitsaardkul S, Tachasamran P, et al. Cultivar variations in antioxidant and antihyperlipidemic properties of pomelo pulp (Citrus grandis [L.] Osbeck) in Thailand. Food Chem 2013; 139: 735-43.

Ahmad AA, II AI Khalifa, Abudayeh ZH. The role of pomelo peel extract for experimentally induced wound in diabetic rats. Pharmacogn J 2018; 10: 885-91.

Thai Geographical Indication. [homepage on the Internet] Department of Intellectual Property Thailand [cited 2023 Dec 4]. Available from https://www.ipthailand.go.th/th/gi.html

Xie J, Schaich KM. Re-evaluation of the 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl free radical (DPPH) assay for antioxidant activity. J Agric Food Chem 2014; 62: 4251-60.

Re R, Pellegrini N, Proteggente A, Pannala A, Yang M, Rice-Evans C. Antioxidant activity applying an improved ABTS radical cation decolorization assay. Free Radic Biol Med 1999; 26: 1231-7.

Ainsworth EA, Gillespie KM. Estimation of total phenolic content and other oxidation substrates in plant tissues using Folin-Ciocalteu reagent. Nat Protoc 2007; 2: 875-7

Stockert JC, Blázquez-Castro A, Cañete M, Horobin RW, Villanueva A. MTT assay for cell viability:intracellular localization of the formazan product is in lipid droplets. Acta Histochemica 2012; 114: 785-96.

Cappiello F, Casciaro B, Mangoni ML. A novel In vitro wound healing assay to evaluate cell migration. J Vis Exp 2018; 133: 56825.

Shahbaz MU, Arshad M, Mukhtar K, et al. Natural plant extracts: an update about novel spraying as an alternative of chemical pesticides to extend the postharvest shelf life of fruits and vegetables. Molecules 2022; 27: 5152-71.

Sukkhaphet K, Kraiklang R. Contents of total phenolic, total flavonoid, vitamin C and antioxidant activity in Khoa-Hom, Tong-Dee and Manee-E-San Pomelo Strain. KKUJPHR 2022; 15: 14-28.

Pichaiyongvongdee S, Rattanapun B, Haruenkit R. Total polyphenol content and antioxidant properties in different tissues of seven Pomelo (Citrus grandis (L.) Osbeck) Cultivars. Kasetsart J (Nat. Sci.) 2014; 48: 989-96.

Chang SQ, Azrina A. Antioxidant content and activity in different parts of pomelo [Citus grandis (L.) Osbeck] by-products. Acta Horticulturae 2017; 1152: 27-34.

Alu’datt MH, Rababah T, Alhamad MN, et al. Occurrence, types, properties, and interactions of phenolic compounds with other food constituents in oil-bearing plants. Crit Rev Food Sci Nutr 2018; 58: 3209-18.

Savci Y, Kirbas QK, Bozkurt BT, et al. Grapefruit-derived extracellular vesicles as a promising cell-free therapeutic tool for wound healing. Food & Function 2021; 12: 5144-56

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ