ความชุกและปัจจัยสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมาของสตรีในพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ทวีศักดิ์ สายอ๋อง กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ลักขณากร ดุจวรรณ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • กาญจนา แถลงดี กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ดลรวี แวเยง สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์ความเป็นเลิศไข้เลือดออกและสาธารณสุขชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ความชุก, ปัจจัยสัมพันธ์, มะเร็งปากมดลูก, ไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา, HPV DNA test

บทคัดย่อ

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากอันดับสองในสตรีไทย การติดเชื้อ human papillomavirus (HPV) สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก ด้วยเหตุนี้ทางหน่วยงานอณูชีววิทยาทางการแพทย์ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลท่าศาลาจึงได้เปิดให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีด้วยวิธี HPV DNA test โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อ HPV ของสตรีในพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 3,284 คน มีอายุเฉลี่ย 46.4 ± 8.0 ปี ช่วงอายุที่เข้า รับการตรวจคัดกรองมากที่สุดคือ 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.1 และผลการตรวจ HPV DNA test พบ การติดเชื้อ HPV คิดเป็นร้อยละ 9.5 เมื่อจำแนกตามกลุ่มสายพันธุ์ พบว่า HPV ที่ไม่ใช่สายพันธุ์ 16 และ 18 มีความชุกสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 8.3 รองลงมาคือ HPV สายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 คิดเป็น ร้อยละ 0.9 และ 0.3 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความชุกของการติดเชื้อในพื้นที่ทำการศึกษาพบว่า ผู้เข้ารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านหัวคู มีความชุกของการติดเชื้อ HPV มาก ที่สุดคิดเป็นร้อยละ 15.7 รองลงมาคือ รพ.สต.บ้านคูใหม่ คิดเป็นร้อยละ 12.3 และจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อ HPV กับคุณลักษณะทางชีวภาพของกลุ่มตัวอย่างพบว่า อายุมีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อ HPV อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เพื่อเพิ่มโอกาสในการตรวจพบความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูก และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานระดับพื้นที่ทางด้านสาธารณสุขในการประเมินโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Okunade K S. Human papillomavirus and cervical cancer. J Obstet Gynaecol 2020; 40: 602-8.

National Cancer Institute Department of Medical Services Ministry of Public Health Thailand. Hospital-Based Cancer Registry: Bangkok, 2021. (in Thai)

Chaiyakit U. Cost-outcome of cervical cancer screening at Somdejphrajaotaksin- maharaj hospital. Srinagarind Med J 2022; 37: 602-9. (in Thai)

Thumwadee T, Sukjai P, Anchalee C, et al. Prevalence of human papillomavirus (HPV) Infection and genotypes in Thai women with normal cervical cytology. Bull Dept Med Sci 2019; 61: 73-85. (in Thai)

Chelimo C, Wouldes TA, Cameron LD, et al. Risk factors for and prevention of human papillomaviruses (HPV), genital warts and cervical cancer. J Infect 2013; 66: 207-17.

Khomphaiboonkij U, Sreamsukcharoen- chai N, Pitakkarnkul S, et al. Knowledge of Thai women in cervical cancer etiology and screening. PLoS ONE 2023; 18: e0286011.

Ploysawang P, Rojanamatin J, Prapakorn S, et al. National cervical cancer screening in Thailand. Asian Pac J Cancer Prev 2021; 22: 25-30.

Thidarat M. Prevalence and genotypic distribution of human papillomavirus infection among women in Kamalasai District Kalasin Province. hej 2022; 7: 114-22. (in Thai)

Sirinya P, Nattaporn K, Amonrat P, et al. The Prevalence of High-risk HPV Type among Thai Women in Phichit, Uthai Thani, Chainat, and Kamphaeng Phet Provinces. Bull Dept Med Sci 2021; 63: 766-81. (in Thai)

Thainsang P, Krittika B, and Jarunya N. Retrospective study of human papilloma virus infection in Thailand: A Systematic Review. Thai Cancer J 2022; 42: 10-29. (in Thai)

Chansaenroj J, Theamboonlers A, Chinchai T, et al. High-risk human papillomavirus genotype detection by electrochemical DNA chip method. Asian Pac J Cancer Prev 2012; 13: 1151-8.

Nipa K, Pangchat A, Pakinee R, et al. Age Span of Human papilloma virus- infected (HPV) Women and the Accuracy of HPV Diagnosis from Pap Smear. Srinagarind Med J 2015; 30: 276-81 (in Thai)

Boonthum N, Suthutvoravut S. Prevalence, Types, and Factors of HPV Infection among Women With Abnormal Cervical Cytology Screening at Ramathibodi Hospital. Rama Med J 2021; 44: 12-9. (in Thai)

Kantathavorn N, Mahidol C, Sritana N, et al. Genotypic distribution of human papillomavirus (HPV) and cervical cytology findings in 5906 Thai women undergoing cervical cancer screening programs. Infect Agent Cancer 2015; 10: 1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-13

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ