การประเมินประสิทธิภาพของวัสดุทดสอบความชำนาญชนิดเลือดครบส่วนและปัสสาวะเทียม ในห้องปฏิบัติการจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • เอษณีย์ คำเวียงสา บัณฑิตศึกษาสาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • สมศักดิ์ ฟองสุภา ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • ปราโมทย์ ศรีวาณิชรักษ์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

วัสดุทดสอบความชำนาญน้ำตาลปลายนิ้ว, ปัสสาวะเทียม, เครื่องตรวจวัดน้ำตาลปลายนิ้ว, ปริมาตรเม็ดเลือดอัดแน่น

บทคัดย่อ

วัสดุทดสอบความชำนาญมีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ แต่วัสดุทดสอบความชำนาญที่ใช้ใน รพ.สต. มักนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพงทำให้ใช้งบประมาณสูง และในการเตรียมสารนั้น ต้องมีการประเมินประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือประเมินประสิทธิภาพวัสดุทดสอบความชำนาญชนิดเลือดครบส่วนและปัสสาวะเทียม ในห้องปฏิบัติการจังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้ทดสอบความเป็นเนื้อเดียวกันและความเสถียรจากหน่วยวิจัยด้านการพัฒนาวัสดุทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วัสดุทดสอบความชำนาญถูกส่งไปประเมินโดย รพ.สต. 76 แห่งในจังหวัดนนทบุรี  จัดส่ง 2 รอบ  7 ตัวอย่างต่อรอบ รวมทั้งสิ้น 14 ตัวอย่าง  ประกอบด้วยตัวอย่างสำหรับการตรวจวิเคราะห์น้ำตาลจากเลือดปลายนิ้ว (3 ตัวอย่าง) การตรวจหาปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (2 ตัวอย่าง) การตรวจวิเคราะห์น้ำตาล โปรตีน และภาวะการตั้งครรภ์ ในปัสสาวะ (2 ตัวอย่าง) นำผลที่ได้มาคำนวณ หา Z-score และค่าร้อยละของความสอดคล้องกับค่าเป้าหมาย ผลการศึกษาค่า IZI ≤ 2 ของการตรวจวิเคราะห์น้ำตาลจากเลือดปลายนิ้ว มีค่าเฉลี่ยทั้ง 2 รอบร้อยละ 95.95 (94.85 และ 97.05 ในรอบที่ 1 และ 2) การประเมินการตรวจหาปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น มีค่า IZI ≤ 2  เฉลี่ยทั้ง 2 รอบร้อยละ 90.57 (90.57 และ 90.57 ในรอบที่ 1 และ 2) การประเมินการตรวจภาวะการตั้งครรภ์ในปัสสาวะ พบว่ามีความสอดคล้องกับค่าเป้าหมายเฉลี่ยทั้ง 2 รอบร้อยละ 95.72 (95.72 และ 95.72 ในรอบที่ 1 และ 2) การตรวจวิเคราะห์โปรตีนในปัสสาวะพบว่ามีความสอดคล้องกับค่าเป้าหมายเฉลี่ยทั้ง 2 รอบร้อยละ 96.05 (96.05 และ 96.05 ในรอบที่ 1 และ 2) และการตรวจวิเคราะห์น้ำตาลในปัสสาวะ พบว่ามีความสอดคล้องกับค่าเป้าหมายเฉลี่ยทั้ง 2 รอบร้อยละ 94.40 (94.40 และ 94.40 ในรอบที่ 1 และ 2) จากผลการสำรวจข้อมูลทั่วไปพบว่า รพ.สต. มีการใช้เครื่องกลูโคมิเตอร์และชุดทดสอบปัสสาวะด้วยแถบทดสอบหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งไม่ส่งผลต่อผลประเมินวัสดุทดสอบความชำนาญ  สรุปวัสดุทดสอบความชำนาญมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการควบคุมคุณภาพในห้องปฏิบัติการ รพ.สต.

References

Royal Gazette Primary Health System Act. 2019.

Ministry of Public Health. Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. Development Plan of Sub-district Health Promoting Hospitals 2009-2012, Bangkok: Ministry of Public Health; 2009.

Ministry of Public Health. Public Health Resource Statistics Report, Bangkok: Ministry of Public Health; 2021.

Ministry of Public Health Department of Medical Sciences. Quality system and laboratory standards in medicine and public health (for sub-district health promoting hospitals and urban health centers), Bangkok: Ministry of Public Health; 2014.

Cluster of Primary Health System Support, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. Guidelines for the standard development of sub-district Health Promoting Hospitals: Ministry of Public Health, 2021. (in Thai)

Department of Medical Sciences, Bureau of Laboratory Quality Standards. Medical Laboratory Standards, Revision No. 01. [Bangkok]: Department; 2016.

Ministry of Public Health, Department of Medical Sciences. Ministry of Public Health Medical Laboratory Standards 2019. [Bangkok]: Department; 2019.

Siritunyanont R, Kaewkrajang W, Kamolrak P. Evaluation of Laboratory Quality and Service Standards in Primary Care Unit According to the Ministry of Public Health Standards, Fiscal Year 2014-2016. Journal of Health Systems Research Institute 2018; 12: 113-23. (in Thai)

Thaowto B, Sriwanichrak P, Kongkhum S, Fongsupha S. Development and Evaluation of a Glucose Control Material with Red Blood Cells for Finger-stricken Blood Glucose Meters. J Med Tech Assoc Thailand 2021; 49: 7656-73. (in Thai)

Kaedee N, Siripurkpong P, Sriwanichrak P. The Quality Assessment of Artificial Urine and Urine Sediment Slide for Chemical and Microscopic Examinations in Urinalysis. J Med Tech Assoc Thailand 2021; 49: 7603-14. (in Thai)

International Organization for Standardization. International standard ISO 17043 Conformity assessment- General requirements for the competence of proficiency testing providers, 2nd ed; 2023.

International Organization for Standardization. International standard ISO 13528 Statistical methods for use in proficiency testing by interlaboratory comparisons, 2nd ed; 2015.

Total allowable error table, Data Innovations [internet]. [cite 2023 JAN 28] Available from: https://www.datainnova- tions.com/allowable-total-error-table/

Aurkanjananam N, Thuansri T, Suranaphonchai S, Treebuphachatsakul W. Study of Blood Glucose Testing Data: Principles of Measurement and Technology. J Med Tech Assoc Thailand 2018; 46: 6334. (in Thai)

Petchyang W. A survey of the quality control system of blood glucose monitoring with a fingertip glucose meter portable in Thailand. The 38th National Graduate Studies Research Conference 2016. (in Thai)

Sakaew P. Qulity Assessment of Micro-Hematocrit by Centrifugation Method in The laboratory Networking of Chiang Rai Province. Master of Science degree Department of Medical Technology Naresuan University 2019; 41. (in Thai)

Aphiratmatheekul N, Treebuphachatsakul W, Piankarn P, Thosaeng S, Kongros K. Performance Evaluations of Four Basic Laboratory Tests Operated at Sub-District Health Promoting Hospitals in Northern Region of Thailand Through Proficiency Testing Scheme by Following ISO/IEC 17043. J Med Assoc Thailand 2021; 49: 7797-809. (in Thai)

Thichak S, Yananto Y, Waneesorn J, Thilaongam K, Veeraseatakul P. Proficiency Tests of Pregnancy, Urinary Protein and Glucose Testing in Primary Care Units in Northern Thailand. J Med Assoc Thailand 2021; 49: 7814-31. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-13

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ