การเพิ่มประสิทธิผลของการรายงานผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกด้วยการรายงานผลอัตโนมัติ: กรณีศึกษาของโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เยาวรักษ์ จูตระกูล กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การรายงานผลอัตโนมัติ, ระยะเวลารอคอย, การประกันเวลารับผลตรวจ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันงานทางห้องปฏิบัติการมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนางานในกระบวนการหลังการตรวจวิเคราะห์ โดยใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศและมาตรฐานการควบคุมคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีความสำคัญในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว รวมถึงช่วยลดภาระงานทางห้องปฏิบัติการ การวิจัยย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการรายงานผลอัตโนมัติ ในการรายงานผลตรวจ 35 รายการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก โรงพยาบาลอุดรธานี  โดยใช้ข้อมูลก่อนการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2563  จำนวน 52,132 การทดสอบ และข้อมูลหลังการใช้การรายงานผลอัตโนมัติ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2564 จำนวน 32,880 การทดสอบ ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลารอคอยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ หลังใช้การรายงานผลอัตโนมัติใช้เวลารวมเฉลี่ยลดลง  9.05 นาทีและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในแต่ละรายการทดสอบ ยกเว้น CA15-3 และ AFP ส่วนการศึกษาภาระงานของเจ้าหน้าที่ในช่วงเวลาที่ใช้การรายงานผลอัตโนมัติ พบว่าในแต่ละรายการทดสอบ เมื่อใช้การรายงานผลอัตโนมัติสามารถช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ได้มากกว่าร้อยละ 60 ยกเว้น  AST,  ALP, LDH และ B-HCG ที่ลดภาระงานลงได้ร้อยละ 59.85, 58.13, 28.50 และ 23.81 ตามลำดับ และในภาพรวมพบว่าช่วยลดภาระงานลงได้ร้อยละ 84.53  นอกจากนี้การศึกษาผลสำเร็จของการประกันเวลาได้รับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการในการสั่งตรวจแบบทั่วไปและการสั่งตรวจที่มีรายการตรวจพิเศษร่วมด้วย ที่เวลาเฉลี่ย 90  และ 120 นาที พบว่าช่วงก่อนการศึกษาได้คะแนนความสำเร็จของการประกันเวลา คิดเป็นร้อยละ 87.60  และ 95.80 ตามลำดับ แต่หลังจากใช้การรายงานผลอัตโนมัติ พบว่ามีคะแนนความสำเร็จเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 94.20 และ 98.60  ตามลำดับ และค่าคะแนนผลสำเร็จก่อนและหลังการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การพัฒนางานให้บริการทางห้องปฏิบัติการด้วยระบบตรวจสอบและรายงานผลอัตโนมัติ สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงานทั้งด้านช่วยลดระยะเวลารอคอยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบและรายงานผล เพิ่มความพึงพอใจและความสำเร็จของการประกันเวลาได้รับผลตรวจตามเวลาที่กำหนดมากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนี้การใช้ระบบรายงานผลอัตโนมัติสามารถขยายงานและเพิ่มรายการทดสอบให้มากขึ้นได้ ทั้งในงานเคมีคลินิกและงานห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ที่มีการใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ

References

HREX.asia. 5 principles of lean system (LEAN) how to use them to increase organizational efficiency; 2021 [cited 2022 Jul 4]. Available from: https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/lean-management-210621/html/

The Medical Technology Council. Thailand medical technology standard: 2022. 1st ed. Nonthaburi; 2022. P. 36-64. (in thai)

Fort Krit Siwara Hospital. Department of Pathology. Ensuring the quality of test results. WP-LAB-2. 2022; 11: 1-39.

Clinical and Laboratory Standard Institute. Autoverification of clinical laboratory test results; Approved Guideline. AUTO10-A. Wayne, PA: CLSI; 2006.

Clinical and Laboratory Standard Institute. AUTO 15 Autoverification of medical laboratory results for specific disciplines - Second Edition. CLSI document; Wayne (PA): CLSI; 2019.

Randell EW, Short G, Lee N, et al. Autoverification process improvement by six sigma approach: clinical chemistry & immunoassay. Clin. Biochem. 2018; 55: 42-48.

Promnuch S, Vanavanan S, Kumproa N, Bumrungpol P. Autoverification in clinical chemistry laboratory. J Med Tech Assoc Thailand. 2019; 2(47): 7001-15.

Yan C, Zhang Y, Li J, et al. Establishing and validating of a laboratory information system‐based auto‐verification system for biochemical test results in cancer patients. J Clin Lab Anal. 2019; 33: 1-8.

Nuanin S, Tientadakul P, Reesukumal K, Piyophirapong S, Gerald JK, Pratumvinit B. Autoverification improved process efficiency, reduced staff workload, and enhanced staff satisfaction using a critical path for result validation. SMJ. 2020; 4: 296-306.

Topcu DI, Gulbahar O. A model to establish autoverification in the clinical laboratory. Clin Chem. 2021; 93: 90-8.

Kumsaen P, Najermploy A, Rujanan Kachenchat R. Development of autoverification system for complete blood count (CBC) analysis. Srinagarind Med J. 2023; 38(2): 120-9.

Wang Z, Peng C, Kang H, et al. Design and evaluation of a LIS-based autoverification system for coagulation assays in a core clinical laboratory. BMC Med Inform Decis Mak 2019; 19: 123.

Wongkrajang P, Reesukumal K, Pratumvinit B. Increased effectiveness of urinalysis testing via autoverification. J Clin Lab Anal. 2020; 34(1): e23029. 1-6

Udonthai Hospital. Department of Medical Laboratory and Clinical Pathology. Reporting test results autoverification and manual verification. UD-WI-LAB(CHE)-006. 2020; 12: 1-8.

Kumfong A, Taecheusai P. Effectiveness of clinical chemistry laboratory report via autoverification system in Lopbuli Cancer Hospital. J DMS. 2022; 1(47): 64-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-13

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ