การศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของ ยีน Mitochondrial Cytochrome c Oxidase Subunit 1 (cox1) ของเชื้อ Plasmodium knowlesi ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธุวาพร สุวรรณลา บัณฑิตศึกษา สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • ดุจดาว ทรงธรรมวัฒน์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

คลัสเตอร์, Cox1, Maximum Parsimony (MP), ต้นไม้สายวิวัฒนาการ, P. knowlesi

บทคัดย่อ

ผู้ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกมีประมาณร้อยละ 40 ของประชากรโลก Plasmodium knowlesi เป็นเชื้อมาลาเรียที่พบในลิงแสมที่อาศัยในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถติดต่อมาสู่คน ยีน cytochrome c oxidase subunit 1 เป็นยีนที่อยู่ในไมโทคอนเดรีย ซึ่งสร้างโปรตีนที่มีความสำคัญในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ และนิยมนำมาใช้ในการระบุชนิดและศึกษาทางด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของยีน (cox1) ของเชื้อ Plasmodium knowlesi ในประเทศไทย งานวิจัยนี้ใช้ตัวอย่าง DNA ของเชื้อ P.knowlesi จำนวน 40 ตัวอย่างจาก 11 จังหวัดในประเทศไทยมาศึกษาด้วยเทคนิค PCR โดยมี cox1เป็นยีนเป้าหมาย หลังจากนั้น นำข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน cox1 มาสร้างต้นไม้สายวิวัฒนาการ (phylogenetic tree) ด้วยวิธี Maximum Parsimony ในการแบ่งกลุ่ม P. knowlesi ในประเทศไทย และวิเคราะห์ร่วมกับประวัติผู้ป่วย ถิ่นที่อยู่อาศัย อาชีพ และความหนาแน่นของเชื้อเพื่อหาความสัมพันธ์กับกลุ่มของเชื้อ ผลการวิจัยสามารถแบ่งกลุ่มเชื้อ P. knowlesi ได้เป็น 13 คลัสเตอร์ (I-XIII) ได้แก่ Cluster I (8 ไอโซเลท), II (7 ไอโซเลท), III (3 ไอโซเลท), IV (1 ไอโซเลท), V (4 ไอโซเลท), VI (1 ไอโซเลท), VII (3 ไอโซเลท) ,VIII (1 ไอโซเลท), IX (1 ไอโซเลท), X (3 ไอโซเลท), XI (2 ไอโซเลท), XII (1 ไอโซเลท และ XIII (5 ไอโซเลท) พบเพศชายติดเชื้อ P. knowlesi มากกว่าเพศหญิง โดยเป็นเพศชาย 35 คน เพศหญิง 5 คน กลุ่มอายุการติดเชื้อ P. knowlesi แบ่งเป็นกลุ่มอายุน้อยกว่า 40 ปี 15 คน และมากกว่าหรือเท่ากับ  40 ปีขึ้นไป 25 คน สัญชาติไทย 39 คน สัญชาติพม่า 1 คน ผู้ป่วยที่มีข้อมูลความหนาแน่นของเชื้อจำนวนทั้งหมด 33 คน มีความหนาแน่นของเชื้อในเลือดน้อยกว่า  10,000 ต่อไมโครลิตร จำนวน 26 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่มีความหนาแน่นของเชื้อในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ  10,000 ต่อไมโครลิตรจำนวน 7 คน สรุปผลการจําแนกเชื้อ P. knowlesi พบว่ามี 13 คลัสเตอร์ เชื้อในแต่ละคลัสเตอร์มีความใกล้เคียงกันทางด้านพันธุศาสตร์และเชื้อส่วนใหญ่ในพื้นที่ต่างกันนั้นมีลําดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่แตกต่างกันออกไป ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลทางระบาดวิทยาทางชีวโมเลกุลเบื้องต้นของเชื้อ P. knowlesi ที่แพร่ในแต่ละพื้นที่ในประเทศไทย ซึ่งมีประโยชน์ต่องานทางด้านสาธารณสุข การวางแผนควบคุมและกำจัดโรคมาลาเรียในประเทศไทย

References

World Health Organization. Guidelines for the treatment of malaria. 3rd ed. Italy: World Health Organization; 2012.

World Health Organization. Management of severe malaria: a practical handbook. 3rd ed. Geneva: World Health Organization; 2012.

Putaporntip C, Hongsrimuang T, Seetham- chai S, et al. Differential prevalence of Plasmodium infections and cryptic Plasmodium knowlesi malaria in humans in Thailand. J Infect Dis 2009; 199: 1143-50.

Sermwittayawong N, Singh B, Nishibuchi M, Sawangjaroen N, Vuddhakul V. Human Plasmodium knowlesi infection in Ranong province, southwestern border of Thailand. Malar J 2012; 11: 36.

Lertprom R, Kanchanasuwan J, Ketkaew J, et al. The first Plasmodium knowlesi, Saraburi Province. June 2017. WESR Wkly Epidemiol Surv Rep 2017; 48: 801-8.

Fong MY, Lau YL, Chin LC, Al-Mekhlafi AM. Sequence analysis on the mitochon- drial cox1 gene of recent clinical isolates of Plasmodium knowlesi in Klang valley, peninsular Malaysia. Trop Biomed 2011; 28: 457-63.

Loh JP, Gao QH, Lee VJ, Tetteh K, Drakeley C. Utility of cox1 phylogenetics to differentiate between locally acquired and imported Plasmodium knowlesi infections in Singapore. Singapore Med J 2016; 57: 686.

De JA, Kadir KA, Mohamad DS, et al. New vectors in northern Sarawak, Malaysian Borneo, for the zoonotic malaria parasite, Plasmodium knowlesi. Parasit Vectors 2020; 13: 472.

Kumbancha Y, Jirapornku C, Tungsrithong N. Factors in association with malaria infection in Phu Phan district, Sakon Nakhon province, Thailand. KKU Journal for Public Health Research 2015; 8: 57-64.

Chaveepojkamjorn W, Pichainarong N. Malaria infection among the migrant population along the Thai-myanmar border area. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2004; 35: 48-52.

Pongsiri K. Factors related to malaria infection among people in border communities in Mae Sariang district, Mae Hong Son province. Dis Control J 2021; 47: 678-86.

Srichuen R. Risk factors of malaria infection in Thai-Myanmar border Ranong Province, Thailand (dissertation). Khon Kaen: Khon Kaen University; 2005. 125 p.

Sermwittayawong N, Singh B, Nishibuchi M, Sawangjaroen N, Vuddhakul V. Human Plasmodium knowlesi infection in Ranong province, southwestern border of Thailand. Malar J 2012; 11: 36.

Jongwutiwes S, Buppan P, Kosuvin R, et al. Plasmodium knowlesi malaria in humans and macaques, Thailand. Emerg Infect Dis 2011; 17: 1799.

Sugaram R, Boondej P, Srisutham S, et al. Genetic population of Plasmodium knowlesi during pre-malaria elimination in Thailand. Malaria J 2021; 20: 1-8.

Ngernna S, Rachaphaew N, Thammapalo S, Prikchoo P, Kaewnah O, Manopwisedjaroen K. Case report: case series of human Plasmodium knowlesi infection on the Southern border of Thailand. Am J Trop Med Hyg 2019; 101: 1397-401.

Phillips RE, Looareesuwan S, Warrell DA, et al. The importance of anemia in cerebral and uncomplicated falciparum malaria: role of complications, dyserythropoiesis and iron sequestration. Q J Med 1986; 58: 305-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-09

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ