ความพึงพอใจของผู้รับบริการเจาะเลือด ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

ผู้แต่ง

  • สุพิศ โพธิ์ขาว กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกและเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การเจาะเลือด, ความพึงพอใจ, บริการ, คุณภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการที่ห้องเจาะเลือด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 305 ราย และบุคลากรโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีจำนวน 106 ราย ที่เข้ามารับบริการ ห้องเจาะเลือด ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกและเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 -31 สิงหาคม 2565 ผลการศึกษา พบว่าผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 78.35 และ 79.48 ตามลำดับ แต่มีความพึงพอใจต่อระยะเวลาในการเจาะเลือดเริ่มตั้งแต่การสแกนบัตรจนเจาะเลือดเสร็จและการเกิดรอยเขียวช้ำหลังเจาะเลือดน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.0 และ 52.40 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการ พบว่าผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกที่มีความแตกต่างกันด้านเพศ การศึกษา และประวัติการเจาะเลือดมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 สำหรับผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกที่มีความแตกต่างกันด้านสถานภาพสมรส อายุ และรายได้ต่อเดือน มีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการไม่แตกต่างกัน ในขณะที่บุคลากรโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 68.9 และ 70.20 ตามลำดับ แต่มีความพึงพอใจต่อเก้าอี้นั่งรอเจาะเลือดเพียงพอและการเกิดรอยเขียวช้ำหลังเจาะเลือดน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62.6 และ 58.20 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการ พบว่าบุคลากรโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีที่มีความแตกต่างกันด้านประวัติการเจาะเลือดมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 สำหรับบุคลากรโรงพยาบาลนพรัตราชธานีที่มีความแตกต่างกันด้านเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการไม่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้แสดงว่าการเจาะเลือดมีหลายขั้นตอนทำให้ผู้รับบริการสับสนและรอเจาะเลือดนานเป็นเวลาหลายชั่วโมง รวมถึงเก้าอี้นั่งรอเจาะเลือดไม่เพียงพอ แนวทางพัฒนาความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการคือการลดขั้นตอนเจาะเลือดลง และมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือแนะนำ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการบริการที่สะดวกและรวดเร็ว

References

The Medical Technical Council. The Medical Technical Council Regulations on restrictions and conditions for practicing the profession of medical technology, B.E. 2553. Royal Gazette 2010; 127: 69-71. (in Thai)

Lima-Oliveira G, Lippi G, Salvagno GL, Picheth G, Guidi GC. Laboratory diagnostics and quality of blood collection. J Med Biochem 2015;34:288-94.

Lalongo C, Bernardini S. Phlebotomy, a bridge between laboratory and patient. Biochem Med (Zagreb) 2016; 26:17-33.

Cortizas ME. The risks associated with phlebotomy decentralization, Lab Notes 1997; 7: 1-3.

Sriratanaban J. Quality of medical services: a marketing – oriented approach. Chula Med J 1994; 38: 169-78. (in Thai)

Rutstein DD, Berenberg W, Chalmers TC, Child CG 3rd, Fishman AP, Perrin EB. Measuring the quality of medical care. A clinical method. N Eng J Med 1976; 294: 582-8.

Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 3rd edition. New York: Harper and Row; 1973.

Trakulboonnate N. The satisfaction of out-patient department service in the Princess Mother Navuti Hospital. J Pol Nurses. 2017; 9: 64-74. (in Thai)

Sukanimit T, Moonsart S. Satisfaction of clients at HRH Princess Chakri Sirindhorn Medical Center. EAU Herit J Sci Tech 2015;9:87-96. (in Thai)

Cembrowski GS, Strauss S, Waldeland LJ, Kropp E, Adlis SA. Are phlebotomy services completely satisfying our patient customers. 1995 Institute on Critical Issues in Health Laboratory Practice: Frontiers in Laboratory Practice Research, Institute Proceedings, Krolak JM, O’Connor A, Thompson P, eds. 1996:198-208.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31 — Updated on 2023-09-09

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ