การศึกษาความสอดคล้องของการตรวจ immunofixation electrophoresis ในซีรัม ด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์ Interlab G26 Easy Fix (fully automated) และ QuickGel® CHAMBER (manual)

ผู้แต่ง

  • สุพรชัย อ่อนผัน ห้องปฏิบัติการหน่วยภูมิคุ้มกันวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

Interlab G26 Easy Fix, Immunofixation electrophoresis, Multiple myeloma, QuickGel® CHAMBER

บทคัดย่อ

                การตรวจ immunofixation electrophoresis ในซีรัมทางห้องปฏิบัติการเป็นการตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัย การพยากรณ์ และการติดตามผลการรักษาโรค multiple myeloma โดยสามารถตรวจพบ monoclonal immunoglobulins ได้แม้มีปริมาณต่ำ ซึ่งอาจช่วยในการค้นพบระยะเริ่มต้นของ myelomatosis และยังสามารถรายงานผลได้อย่างรวดเร็ว การตรวจ immunofixation electrophoresis มีหลายวิธี ซึ่งปัจจุบันห้องปฏิบัติการมีการตรวจวิเคราะห์โดยการใช้ระบบการทดสอบที่มีขั้นตอนซับซ้อน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องของการตรวจวิเคราะห์ immunofixation electrophoresis โดยการวิเคราะห์ผลการทดสอบ immunofixation electrophoresis ระหว่างเครื่องตรวจวิเคราะห์ Interlab G26 Easy Fix (fully automated) และ QuickGel® CHAMBER (manual) ที่อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของห้องปฏิบัติการได้ จากกลุ่มตัวอย่าง 55 ราย พบว่า ผลการอ่านแถบโปรตีนระหว่างเครื่อง QuickGel® CHAMBER และเครื่องอัตโนมัติ Interlab G26 Easy Fix มีผลรวมความสอดคล้องอยู่ที่ร้อยละ 98.18 ซึ่งมีค่าความสอดคล้องของทั้งสองเครื่องอยู่ในระดับดีมาก (Cohen’s kappa = 0.978) แสดงถึงความสอดคล้องของผลการทดสอบที่ดีมากและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงสรุปได้ว่าการทำการทดสอบ immunofixation electrophoresis ด้วยเครื่องอัตโนมัติ Interlab G26 Easy Fix สามารถใช้ในห้องปฏิบัติการได้ไม่แตกต่างจากการใช้เครื่อง QuickGel® CHAMBER ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยด้านปริมาณของ immunoglobulin ที่มีค่าสูง และอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเจือจางซีรัมของเครื่องอัตโนมัติ Interlab G26 Easy Fix เพิ่มเติมเพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ