การประยุกต์ใช้ระบบ Lean เพื่อลดรอบเวลารอคอยผลสำหรับการตรวจวิเคราะห์ HbA1c ในโรงพยาบาลชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ผุสดี โตบันลือภพ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี
  • อ้อยทิพย์ ณ ถลาง บัณฑิตศึกษา สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • นฤมล งามวชิราพร บัณฑิตศึกษา สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ฮีโมโกลบินเอวันซี, รอบเวลารอคอยผล , ระบบ Lean

บทคัดย่อ

                การตรวจวิเคราะห์ hemoglobin A1c (HbA1c) ใช้ในการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาที่พบในห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลชลบุรี คือ ไม่สามารถรายงานผลได้ทันรอบเวลารอคอยผล (turnaround time, TAT) ที่ประกันไว้ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้า (prospective study) เพื่อพัฒนากระบวนการตรวจวิเคราะห์ HbA1c ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบ Lean เพื่อลดปัญหา TAT ล่าช้า ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุการเกิดปัญหาระยะเวลารอคอยผลที่นานกว่า 60 นาที โดยพิจารณาเรื่องกระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ และขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ตั้งแต่ pre-analytical, analytical และ post-analytical จำแนกตาม flag errors 3 แบบ คือ Sample S., <test และ >test และช่วงเวลารับสิ่งส่งตรวจที่ส่งผลต่อการตรวจที่มี TAT ล่าช้า เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ระหว่างก่อนและหลังนำระบบ Lean มาประยุกต์ใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ผลการศึกษาพบว่า ก่อนและหลังประยุกต์ใช้ระบบ Lean มีตัวอย่างส่งตรวจจำนวน 16, 012 ราย และ 13,721 ราย พบตัวอย่างที่ TAT ล่าช้า จำนวน 179 ราย (ร้อยละ 1.11) และ 140 ราย (ร้อยละ 1.02) ตามลำดับ ช่วงเวลาที่มักพบปัญหา TAT ล่าช้าคือระหว่าง 04:01-10:00 น. ซึ่งพบได้บ่อยกว่าช่วงเวลาอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกระบวนการตรวจวิเคราะห์ จำแนกตาม flag errors พบว่า ค่าเฉลี่ยมัธยฐาน (median) ของ pre-analytic, analytic และ post-analytic หลังจากประยุกต์ใช้ระบบ Lean สามารถลดระยะเวลาของ flag error ชนิด >test ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการประยุกต์ใช้ระบบ Lean กรณี >test พบว่า จำนวนตัวอย่าง TAT ล่าช้า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยเฉพาะขั้นตอน pre- และ post-analytic โดยสรุปการประยุกต์ใช้ระบบ Lean สามารถลดค่าเฉลี่ยมัธยฐาน TAT ล่าช้าของการตรวจ HbA1c และจำนวนตัวอย่างที่พบปัญหาของ flag error ชนิด >test ได้ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสามารถนำระบบ Lean มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวิเคราะห์ HbA1c

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ