การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และการวิเคราะห์อภิมานของการใช้เม็ดเลือดแดงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาในปัสสาวะ ในการวินิจฉัยภาวะปัสสาวะเป็นเลือดจากความผิดปกติของโกลเมอรูลัส เพื่อประโยชน์ทางคลินิก

ผู้แต่ง

  • พงศ์พีระ รัตนะเหลี่ยม บัณฑิตศึกษาสาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • ญาณีนาถ สุวรรณวงศ์ ภาควิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
  • อวิรุทธ์ เจริญสรรพกิจ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยแบบปริวรรตในโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ และโรคทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
  • สิรินารถ ชูเมียน ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

เม็ดเลือดแดงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยา, ปัสสาวะเป็นเลือด, ปัสสาวะเป็นเลือดจากความผิดปกติของโกลเมอรูลัส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการใช้เม็ดเลือดแดงชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยา (dysmorphic red blood cells; dRBCs)ในปัสสาวะ ในการวินิจฉัยภาวะปัสสาวะเป็นเลือดจากความผิดปกติของโกลเมอรูลัส (glomerular hematuria) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาชนิดนี้เกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าว การวิจัยทำโดยการสืบค้นข้อมูลและรวบรวมผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์จากฐานข้อมูลออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ ก่อนปีพุทธศักราช 2565 ได้แก่ ฐานข้อมูล PubMed®, ScienceDirect®, Scopus และ Thai journal online ตามลำดับ โดยคัดเลือกงานวิจัยที่ความผิดปกติของโกลเมอรูลัสมีผลยืนยันการวินิจฉัยด้วยการตรวจชิ้นเนื้อไต (renal biopsy) จากการสืบค้นทั้งหมดพบงานวิจัย 10 ฉบับที่สอดคล้องกับเกณฑ์การคัดเลือก โดยผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า การตรวจนับ dRBCs ที่มีลักษณะเป็นอะแคนโตซัยต์(acanthocyte) มีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยภาวะ glomerular hematuria สูงกว่าการตรวจนับ dRBCs แบบรวม อีกทั้งการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบที่ค่าจุดตัด (cut off value) ต่าง ๆ พบว่า ค่าร้อยละ 20 ขึ้นไป เหมาะสมที่จะใช้เป็นค่าอ้างอิงในทางคลินิก ในการจำแนกภาวะ glomerular hematuria จาก hematuria ชนิดอื่นๆ เนื่องจากให้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด จากข้อมูลทั้งหมดสรุปได้ว่า เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยภาวะปัสสาวะเป็นเลือดจากความผิดปกติของโกลเมอรูลัส ทำให้อะแคนโตซัยต์เป็น dRBCs ที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากมีความสามารถในการจำแนกโรค และง่ายต่อการระบุชนิดมากกว่า dRBCs ชนิดอื่น ๆ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-29

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ