เปรียบเทียบคุณภาพการติดสีของสเมียร์เลือดระหว่างการย้อมแบบดั้งเดิมกับแบบดัดแปลงรวดเร็ว

ผู้แต่ง

  • ธิดา โทรักษา กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกและเทคนิคการแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การย้อมสีสเมียร์เลือดในการตรวจ CBC, การตรวจวิเคราะห์เลือดสมบูรณ์, การเตรียมสีไรท์-จิมซ่า

บทคัดย่อ

            ปัจจุบันห้องปฏิบัติการจุลทรรศนศาสตร์คลินิกใช้สีสำเร็จรูปย้อมสเมียร์เลือดในการตรวจวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count ;CBC) เนื่องจากสารเคมีบางชนิดในการเตรียม Wright–Giemsa  มีราคาสูงและหาซื้อได้ยาก จึงมีการเลือกใช้สีสำเร็จรูปที่หาได้ง่ายและราคาถูก มาใช้แทนการเตรียมสีเอง ขั้นตอนและเวลาในการย้อมสีมีความแตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้เหมาะกับการปฏิบัติงาน จึงดัดแปลงขั้นตอนการย้อมสีให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนคุณภาพการติดสีของการย้อมสเมียร์เลือดระหว่างการย้อมสเมียร์เลือดแบบดั้งเดิมกับแบบดัดแปลงรวดเร็ว ใช้วิธีการศึกษาจากตัวอย่าง 130 ราย ทำโดยการย้อมสเมียร์เลือด 2 ชุด ด้วย 2 วิธี ตรวจสเมียร์เลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยนักเทคนิคการแพทย์ 2 คน เพื่อให้คะแนนคุณภาพการติดสี 1-5 ตามลำดับ แล้วเปรียบเทียบผลรวมของค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพการติดสีทั้ง 2 วิธี วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ paired t-test ผลการศึกษา พบว่าการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของ 2 วิธีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพการย้อมสีแบบดั้งเดิม  4.94±0.23 คะแนน ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพการย้อมสีแบบดัดแปลงรวดเร็ว 4.98±0.13 คะแนน เวลาที่ใช้ในการย้อมแบบดั้งเดิม 10 นาที 30 วินาที แบบดัดแปลงรวดเร็ว 3 นาที 31 วินาที โดยสรุปวิธีการย้อมสีแบบดัดแปลงรวดเร็ว สามารถนำมาใช้ในการย้อมสเมียร์เลือดในงานประจำวันได้ ซึ่งช่วยลดเวลา ลดต้นทุน ไม่ยุ่งยาก และมีคุณภาพการติดสีดีกว่าแบบดั้งเดิม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-29

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ