โครงเลี้ยงเซลล์ชีวภาพเยือกแข็งสำหรับเพาะเลี้ยงเซลล์ไฟโบรบลาสต์ในหลอดทดลอง

ผู้แต่ง

  • จิราพร จรอนันต์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
  • ปองรุ้ง จันทรเจริญ สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
  • วิไลรัตน์ ลี้อนันต์ศักดิ์ศิริ สาขาวิชาปรีคลินิก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
  • กนกพร ศรีสุจริตพานิช สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

โครงเลี้ยงเซลล์ชีวภาพ, อากาโรส-ไคโตซาน-เจลาติน, ไฟโบรบลาสต์

บทคัดย่อ

โครงเลี้ยงเซลล์ชีวภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อ โครงเลี้ยงเซลล์ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ต้องมีโครงสร้างที่กระตุ้นการยึดเกาะของเซลล์ วัสดุชีวภาพจากธรรมชาติหลายชนิดถูกนำมาผลิตเป็นโครงเลี้ยงเซลล์เนื่องจากสามารถผลิตโครงเลี้ยงเซลล์ที่มีคุณสมบัติเลียนแบบ extracellular matrix ที่สามารถกระตุ้นการยึดเกาะของเซลล์ได้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตโครงเลี้ยงเซลล์จากวัสดุชีวภาพ อะกาโรส ไคโตซานและเจลาตินโดยใช้เทคนิคเยือกแข็ง จากนั้นนำโครงเลี้ยงเซลล์ที่ผลิตได้มาศึกษาคุณสมบัติด้านความสามารถในการอุ้มน้ำและอัตราการสลายตัว รวมทั้งศึกษาความเป็นพิษของโครงเลี้ยงเซลล์ต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ของมนุษย์ด้วยการทดสอบ MTT นอกจากนี้ยังศึกษาลักษณะของเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่เจริญบนโครงเลี้ยงเซลล์ด้วยการย้อม hematoxylin and eosin (H&E) ผลการศึกษาพบว่าโครงเลี้ยงเซลล์ที่ผลิตได้ทั้งหมดมีความสามารถในการอุ้มน้ำสูงถึง 80% และมีอัตราการสลายตัวที่ 1 สัปดาห์ต่ำกว่า 11% ส่วนการทดสอบ MTT แสดงให้เห็นว่าโครงเลี้ยงเซลล์ที่ประกอบด้วยอะกาโรส 2% - 3%, ไคโตซาน 2% และเจลาติน 3% สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ไฟโบรบลาสต์ได้ ผลการย้อม H&E พบเซลล์ไฟโบรบลาสต์เจริญอยู่ภายในโครงเลี้ยงเซลล์ ผลการศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ว่าโครงเลี้ยงเซลล์ที่ผลิตจาก อะกาโรส ไคโตซานและเจลาตินสามารถนำมาผลิตเป็นโครงสำหรับเพาะเลี้ยงเซลล์ไฟโบรบลาสต์ของมนุษย์ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไปในงานด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อ

Author Biographies

ปองรุ้ง จันทรเจริญ, สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

ผู้ร่วมวิจัย

วิไลรัตน์ ลี้อนันต์ศักดิ์ศิริ, สาขาวิชาปรีคลินิก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

ผู้ร่วมวิจัย

กนกพร ศรีสุจริตพานิช, สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

ผู้ร่วมวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ