การเปลี่ยนแปลงของดัชนีเม็ดเลือดและค่าการแข็งตัวของเลือด ระหว่างการฉายรังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

ผู้แต่ง

  • สุริยะ เครือจันต๊ะ บัณฑิตศึกษาสาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ.ปทุมธานี
  • ถวัลย์ ฤกษ์งาม ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ.ปทุมธานี
  • วิมลพักตร์ ศรีไวย์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ.ปทุมธานี

คำสำคัญ:

การฉายรังสี , มะเร็งเต้านม, ดัชนีเม็ดเลือด, ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด , ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ, โปรทรอมบินไทม์, ระดับการแข็งตัวของเลือด

บทคัดย่อ

ปัจจุบันยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของเลือดก่อนและหลังการฉายรังสีบำบัดซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มประชากร และมีความจำเป็นในการศึกษาวิจัยหาระยะเวลาเหมาะสมระหว่างการฉายรังสีรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจากการประเมินค่าดัชนีเม็ดเลือดและค่าการแข็งตัวของเลือด การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบ cross-sectional analysis ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมและให้ยาเคมีบำบัดครบแล้ว และเข้ารับการรักษาในหน่วยรังสีบำบัด โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี จำนวน 135 ราย ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยรังสีรวมปริมาณ 45-50 Gy จำนวน 25 ครั้ง (fractions) ใน 5 สัปดาห์  โดยเก็บตัวอย่างเลือดก่อนการฉายรังสีทุกรอบและหลังการฉายรังสีรอบสุดท้ายเพื่อตรวจวิเคราะห์ค่าทางโลหิตวิทยา จำนวนเรติคูโลซัยต์ และตรวจการแข็งตัวของเลือด ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยจำนวนเม็ดเลือดขาวรวมลิมโฟซัยต์และเกล็ดเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและลดลงต่อเนื่องตลอด 5 สัปดาห์ โดยลิมโฟซัยต์มีความไวต่อรังสีมากกว่าเซลล์เม็ดเลือดชนิดอื่น ค่าฮีโมโกลบิน ฮีมาโทคริต และจำนวนเรติคูโลซัยต์ ก่อนและหลังสิ้นสุดการฉายรังสีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่า PT, aPTT และ INR เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ช่วงอายุผู้ป่วยไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีเม็ดเลือดและค่าการแข็งตัวของเลือด และไม่มีผู้ป่วยที่ต้องหยุดพักระหว่างการรักษา การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ารังสีรักษามีผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวและระบบการแข็งตัวของเลือด ช่วงเวลาการตรวจเลือดปัจจุบันมีความปลอดภัย และแนะนำให้เจาะเลือดผู้ป่วยก่อนเริ่มการทำรังสีรักษาเพื่อตรวจค่าพารามิเตอร์ทางโลหิตวิทยาและการแข็งตัวของเลือด ถ้าค่าต่าง ๆ อยู่ในช่วงปกติ อาจไม่ต้องมีการตรวจติดตามทางห้องปฏิบัติการทุกสัปดาห์ตลอดช่วงการรักษา เว้นแต่กรณีมีข้อบ่งชี้สำคัญ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-29

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ