Anti-f (IgM) จำลองโดยการรวมกันของ anti-c (IgM) และ anti-e (IgM) เปรียบเทียบกับ anti-f (IgM/IgG or IgG) ในผู้ป่วยที่มีการรายงาน
คำสำคัญ:
Anti-f (IgM) จำลอง, Anti-c (IgM), Anti-e (IgM), Anti-f (IgM/IgG or IgG) ในผู้ป่วยที่มีการรายงานบทคัดย่อ
แอนติเจน f (ce) เป็นแอนติเจนผสมในหมู่เลือดระบบ Rh ที่แสดงออกบนเม็ดเลือดแดงเมื่อแอนติเจน c และ e เกิดจากยีนบนโครโมโซมเส้นเดียวกัน ผู้ป่วยที่ไม่มีแอนติเจน f และได้รับเลือดที่มีแอนติเจน f จะกระตุ้นให้เกิดการสร้าง anti-f ซึ่งก่อให้เกิด hemolytic transfusion reaction โดยที่ anti-f ในผู้ป่วยส่วนมากเป็น IgG แต่ส่วนน้อยเป็น IgM และมีรายงานผู้ป่วยในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อผลิต anti-f (IgM) จำลอง โดยการรวมกันของ anti-c (IgM) และ anti-e (IgM) และศึกษาลักษณะรูปแบบปฏิกิริยาเปรียบเทียบกับ anti-f (IgM/IgG or IgG) ในผู้ป่วยที่มีการรายงาน โดยนำ anti-f (IgM) จำลองมาตรวจกรองแอนติบอดี ตรวจแยกชนิดแอนติบอดี ใช้เทคนิค adsorption-elution เพื่อนำ eluate มาตรวจกรองแอนติบอดี ตรวจแยกชนิดแอนติบอดี ตรวจชนิดของแอนติบอดีด้วย dithiothreitol และทดสอบหาความแรง ผลการวิจัยพบว่า การตรวจกรองแอนติบอดีของ anti-f (IgM) จำลองให้ผล 4+ กับ screening cells O1-4 ที่มีแอนติเจน c และ/หรือ e ทุกเซลล์ (R1R1, R1R2, rr) ส่วน anti-f (IgM/IgG or IgG) ในผู้ป่วยที่มีการรายงานให้ผล 3+ กับ O4 ที่มีแอนติเจน ce (rr) เท่านั้น การตรวจแยกชนิดแอนติบอดีของ anti-f (IgM) จำลองให้ผล 4+ กับ panel cells 1-11 ที่มีแอนติเจน c และ/หรือ e ทุกเซลล์ (R1R1, R1R2, R2R2, R1Rz, R1r, rr, r’r, r’’r) ส่วน anti-f (IgM/IgG or IgG) ในผู้ป่วยที่มีการรายงานให้ผล 2-3+ กับ P4, P9-11 ที่มีแอนติเจน ce (R1r, rr, r’r, r’’r) ผลการทดสอบ eluate ด้วยการตรวจกรองแอนติบอดีให้ผล 1+ กับ O1-4 และการตรวจแยกชนิดแอนติบอดีให้ผล 1+ กับ P1-11 ที่อุณหภูมิห้อง, 37 องศาเซลเซียส และ AHG รูปแบบปฏิกิริยาเหมือน anti-f (IgM) จำลอง และ anti-f (IgM) จำลองมีความแรง 128 งานวิจัยนี้บ่งชี้ว่า anti-f (IgM) จำลองมีคุณสมบัติที่แตกต่างจาก anti-f ที่พบในผู้ป่วยซึ่งเป็นแอนติบอดีต่อแอนติเจนผสม f (ce) ไม่ใช่แอนติเจน c หรือ e ตัวใดตัวหนึ่ง รูปแบบปฏิกิริยา anti-f (IgM) จำลองอาจใช้เป็นแนวทางสำหรับการตรวจแยกชนิด anti-f ออกจาก anti-c ที่พบร่วมกับ anti-e ในผู้ป่วยที่อาจพบได้ต่อไป