การทดสอบความชำนาญสำหรับการตรวจภาวะตั้งครรภ์ โปรตีนและกลูโคสในปัสสาวะ ของหน่วยบริการปฐมภูมิในภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สมคิด ธิจักร์

คำสำคัญ:

การทดสอบความชำานาญ, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ ได้ดำเนินแผนการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการให้แก่หน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ของหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตสุขภาพที่ 1, 2 และ 3 โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังผลทดสอบความชำนาญของหน่วยบริการปฐมภูมิ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึง 2562 จำนวน 5 รอบ ในวัตถุทดสอบซึ่งจัดหาโดยใช้วิธีการเตรียมที่พัฒนาขึ้นเองรวม 18 ตัวอย่าง สำหรับ 3 รายการทดสอบ ได้แก่ การตรวจภาวะตั้งครรภ์ในปัสสาวะโดยใช้ชุดตรวจอย่างง่าย จำนวน 9,885 การทดสอบ และการตรวจโปรตีนและกลูโคสในปัสสาวะโดยใช้แถบทดสอบ จำนวนรายการละ 9,861 การทดสอบ ผลการศึกษาพบว่าสมาชิกมีคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ภาวะตั้งครรภ์ โปรตีนและกลูโคส ในปัสสาวะตามเกณฑ์คะแนนมาตรฐาน อยู่ในระดับดีเฉลี่ยร้อยละ 94.41, 81.33 และ 80.42 ระดับพอใช้เฉลี่ยร้อยละ 3.73, 12.62 และ 12.89 และระดับควรปรับปรุงเฉลี่ยร้อยละ 1.86, 6.05 และ 6.69 ตามลำดับ โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้รายงานผลผิดพลาดในกลุ่มสมาชิกที่มีคุณภาพการตรวจวิเคราะห์อยู่ในระดับควรปรับปรุง คือการบันทึกผลสลับกันระหว่างโปรตีนและกลูโคส (ร้อยละ 53.75) และการเรียงสลับหลอดวัตถุทดสอบ (ร้อยละ 53.12) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ของสมาชิกส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตาม บุคลากรที่ทำหน้าที่ตรวจวิเคราะห์ควรได้รับความรู้และฝึกทักษะเพิ่มเติมในกระบวนการตรวจวิเคราะห์ ข้อมูลที่ได้จากผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ของหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-25

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ