การศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน Mitochondrial Cytochrome c Oxidase Subunit1 (Cox1) ของ Strongyloides stercoralis จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลวชิรพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ดุจดาว ทรงธรรมวัฒน์

คำสำคัญ:

Strongyloides stercoralis, COX1 gene, Phylogenetic tree, DNA sequencing

บทคัดย่อ

พยาธิสตรองจิลอยด์ (Strongyloides stercoralis)  เป็นพยาธิตัวกลมในลำาไส้ที่มีผู้ติดเชื้อ ประมาณ 100 - 370 ล้านคนทั่วโลก ในคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำาการติดเชื้อพยาธิสตรองจิลอยด์จะมีอาการ รุนแรง โดยพยาธิจะแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะทำาให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ยีน mitochondrial cytochrome c oxidase subunit 1 (COX1) มีความแตกต่างของลำาดับนิวคลีโอไทด์ในสิ่งมีชีวิตชนิด เดียวกันต่ำา แต่มีความแตกต่างในสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันสูง จึงสามารถนำายีนนี้มาใช้ระบุและจำาแนกชนิด ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้ลำาดับนิวคลีโอไทด์ของ COX1 ในการศึกษาประชากรที่แตกต่างกันของ Strongy- loides สปีชีส์เดียวกันได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลำาดับนิวคลีโอไทด์ของยีน COX1 ของปรสิต S. stercoralis จากผ่วยในโรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อแบ่งกลุ่มของ S. stercoralis ตาม phylogenetic tree ของยีน COX1 แล้วนำามาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทางคลินิกและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วย  เพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นของความสัมพันธ์ระหว่างคลัสเตอร์ (clusters)   กับข้อมูลผปู่วย คือ ภูมิลาำ เนาตามท้งไว้ อาการ จาำ นวนเม็ดเลือดขาว โดยใช้อุจจาระของผู้ป่วยที่ตรวจพบการติดเชื้อ Strongyloides spp. จำานวน 25 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่าการศึกษาลำาดับนิวคลีโอไทด์ของยีน COX1 สามารถแบ่ง S. stercoralis ได้เป็น 20 คลัสเตอร์ โดยบางคลัสเตอร์มีค่า genetic pairwise distance เท่ากับ 0.000 คลัสเตอร์ 8 พบใน ผู้ป่วย HIV ซึ่งมีภาวะ disseminated strongyloidiasis คลัสเตอร์ 8 และ 14 พบทั้งในเพศชายและเพศ หญิง โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร 11 ราย (ร้อยละ 44) จังหวัดราชบุรี 6 ราย (ร้อยละ 24) จังหวัดกาญจนบุรี 2 ราย (ร้อยละ 8) และจังหวัดอื่น 6 ราย (ร้อยละ 24) ตามลำาดับ เป็นเพศชายร้อยละ 56 เพศหญิงร้อยละ 44 และมีอายุต่ำากว่าหรือเท่ากับ 60 ร้อยละ 52 อายุมากกว่า 60 ปีร้อยละ48 พบภาวะเม็ดเลือดขาวสูงร้อยละ 36 และภาวะอีโอซิโนฟิลสูงในกระแสเลือดร้อยละ 52 โดยในกลุ่ม ผู้ป่วยอายุต่ำากว่า 60 ปีมักพบร่วมกับอาการซีด ภาวะขาดน้ำาและภาวะติดสุราเรื้อรัง ส่วนอาการในระบบ ทางเดินอาหารและผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำาพบในกลุ่มที่อายุมากกว่า 60 ปี นอกจากนี้พบภาวะเม็ดเลือด ขาวสูงและภาวะอีโอซิโนฟิลสูงในกระแสเลือด ซึ่งสอดคล้องกับผลตรวจวินิจฉัยว่ามีภาวะการติดเชื้อ แบคทีเรียและการติดเชื้อปรสิต S. stercoralis ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สามารถจำาแนก S. stercoralis ได้ 20 คลัสเตอร์ การวิจัยนี้ให้ข้อมูลเบื้องต้นของความสัมพันธ์ระหว่างคลัสเตอร์ของ S. stercoralis กับแหล่งที่มาของเชื้อตามที่ระบุไว้ในทะเบียนประวัติผู้ป่วยและอาการทางคลินิก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-25

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ