การศึกษาเปรียบเทียบระดับ HbA1c ในเลือดที่ใช้ EDTA และ Lithium-Heparin เป็นสารกันเลือดแข็ง ตรวจวัดโดยวิธี Boronate Affinity Chromatography

ผู้แต่ง

  • พัชรียา ป้องเรือ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เยาวลักษณ์ ธีระเจตกูล กลุ่มวิชาเคมีคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ลิเทียมเฮปาริน, อีดีทีเอ, ฮีโมโกลบินเอวันซี

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย แนวปฏิบัติในการตรวจติดตามผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลโคกสูง จังหวัดสระแก้ว คือ ตรวจวัดระดับ HbA1c ร่วมกับการตรวจสารชีวเคมีชนิดอื่นๆ ทุก 3-6 เดือน ผู้ป่วยแต่ละรายจึงถูกเจาะเก็บเลือดใส่หลอดที่มีสารกันเลือดแข็งสองชนิด คือเอทิลีนไดเอมีนเตตราอะซิติกแอซิด(อีดีทีเอ) สำหรับการตรวจวัด HbA1c และลิเธียมเฮปารินสำหรับการตรวจวัดสารอื่นๆ ทำให้พบปัญหาในคนไข้บางรายที่เจาะเลือดได้น้อยไม่เพียงพอต่อการแบ่งใส่หลอดเลือดทั้ง 2 หลอด  และในกรณีที่แพทย์สั่งตรวจ HbA1c เพิ่มเติมหลังการเจาะเลือดชนิดลิเธียมเฮปารินแล้ว ทำให้ต้องเจาะเลือดผู้ป่วยซ้ำ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเพื่อเปรียบเทียบระดับ HbA1c ในเลือด อีดีทีเอและเลือดลิเธียมเฮปาริน ที่ตรวจวัดด้วยวิธีโบโรเนตแอฟฟินิตีโครมาโตกราฟี โดยใช้เครื่อง BioHermes A1cCheck Pro ใช้ตัวอย่างเลือดลิเธียมเฮปาริน ที่เหลือจากการทดสอบประจำวันของผู้ป่วยรายเดียวกันที่เจาะเลือดอีดีทีเอ เพื่อส่งตรวจ HbA1c จำนวน 90 ราย ที่มีค่า HbA1c อยู่ในช่วงร้อยละ 4-14 เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับ HbA1c จากตัวอย่างเลือดทั้ง 2 ชนิด พบว่าระดับ HbA1c ในเลือดชนิดอีดีทีเอและชนิดลิเธียมเฮปารินมีค่าไม่แตกต่างกัน (p=0.539, Mann-Whitney U test) ค่า mean ±SD  เท่ากับ 7.23±1.95 และ 7.35±1.92 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ Bland Altman analysis พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีค่า HbA1c แตกต่างกันอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (± ร้อยละ10)  ผลการวิเคราะห์ linear regression พบว่า ระดับ HbA1c ในตัวอย่างเลือดทั้ง 2 ชนิด มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.962, p<0.001; Y=0.365+0.966X) สรุปได้ว่า สามารถใช้ตัวอย่างเลือดชนิดลิเธียมเฮปารินแทนเลือดชนิดอีดีทีเอ ในการตรวจวัดระดับ HbA1c ด้วยเครื่องBioHermes A1cCheck Pro ได้

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-25

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ