ระดับของไลโปโปรตีนแอสโซซิเอทฟอสโฟไลเปส เอ ทู และ ไฮเซนซิติวิตี-ซีอาร์พี ในประเมินการรักษาโรคหลอดเลือด สมองชนิดสมองขาดเลือด
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองของเลือด, ไลโปโปรตีนแอสโซซิเอทฟอสโฟไลเปส เอ ทู, ไฮเซนซิติวิตี- ซีอร์พี ตัวบ่งชี้ภวะอักเสบ, ภวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบบทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมองทเกิดจากภาวะสมองขาดเลือด (ischemic stroke) พบมากในผสููงอายุและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นในปัจจุบัน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ (atherosclerosis) ค่าการอักเสบบริเวณหลอดเลือดที่สูงขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด สมองตามมา high-sensitivity C-reactive protein (hs-CRP) เป็นโปรตีนที่สร้างขึ้นจากตับบ่งชี้ถึงการอักเสบทั่วไปภายในร่างกายในขณะที่ lipoprotein-associatedphospholipase A2 (Lp-PLA2) จะมีความ จำาเพาะต่อการอักเสบที่บริเวณผนังหลอดเลือดมากกว่า เนื่องจาก Lp-PLA2 จะหลั่งจากบริเวณหลอด เลือดแดงแข็งตีบ โดยเฉพาะเมื่อเกิดการฉีกขาดของคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือด (atheroscleroticplaque) และพบว่ามีค่าสูงขึ้นในกระแสเลือดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วัตถุประสงค์การวิจัยคือ วิเคราะห์และเปรียบเทียบระดับ Lp-PLA2activity และ hs-CRP ก่อนและภายหลังการรักษาโรคหลอด เลือดสมองชนิดที่เกิดจากภาวะสมองขาดเลือด (สัปดาห์ที่ 2, 4 และ 6) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์
ระหว่างระดับ Lp-PLA2 activity กับ hs-CRP โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาด เลือด 55 ราย อายุ 35 - 85 ปี วิเคราะห์ค่า Lp-PLA2 activity และ hs-CRP รวมทั้งพารามิเตอร์ต่างๆ ด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์ AU680 บริษัท BECKMAN ผลการศึกษาพบว่าระดับ Lp-PLA2 activity และ hs-CRP มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < 0.05) ภายหลังการรักษา 2 - 6 สัปดาห์ เมื่อเทียบ
กับระดับที่พบก่อนการรักษา (admission; baseline) และพบ hs-CRP มีค่าลดลงมากที่สุด ในขณะที่ Lp-PLA2 activity มีค่าลดลงมากเป็นอันดับรองลงมา ซึ่งค่าทั้งสองบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีภาวะการอักเสบ ลดลง และมีการตอบสนองต่อการรักษาในทางที่ดี ค่า hs-CRP กับ Lp-PLA2 activity มีความสัมพันธ์ทางสถิติในเชิงบวกโดยมีค่า r = 0.474 (p < 0.001) แต่ Lp-PLA2 activity มีความจำาเพาะต่อภาวะอักเสบของหลอดเลือดมากกว่า hs-CRP ดังนั้น Lp-PLA2 จึงน่าจะนำามาใช้ประโยชน์ในการประเมินผล ภายหลังการรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดได้ดีกว่า