การใช้วิธีทดสอบความเปราะของเม็ดเลือดแดงร่วมกับค่าดัชนี เม็ดเลือดแดงในการตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง
คำสำคัญ:
ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง, การตรวจคัดกรอง, การทดสอบความเปราะของเม็ดเลือดแดง, ค่าดัชนีเม็ด เลือดแดงบทคัดย่อ
การตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงมีเป้าหมายเพอลดภาระงานและค่าใช้จ่ายในการ ตรวจยืนยัน โดยทวไปจะใช้การทดสอบความเปราะของเม็ดเลือดแดง (osmotic fragility test: OF) หรือ ใช้ค่าดัชนีเม็ดเลือดแดง (mean corpuscular volume: MCV และ mean corpuscular hemoglobin: MCH) วิธีใดวิธีหนึ่ง แต่มีห้องปฏิบัติการหลายแห่งใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันโดยต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองพาหะเบตาธาลัสซีเมียและพาหะแอลฟาธาลัสซีเมีย 1 การวิจัยนจีึงมีวัตถุประสงค์เพอืศึกษาผลของการใช้วิธีตรวจคัดกรองดังกล่าว โดยการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังของผลตรวจคัดกรองตัวอย่างทมีีทงผล OF และ MCV/MCH เปรียบเทียบกับผลตรวจยืนยันของหญิงตงครรภ์และสามีทมารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาล 8 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ น่าน และลำาพูน ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2561 จำานวน 1,126 ตัวอย่าง ในจำานวนนี้เป็นตัวอย่างที่มีผล OF เป็นบวก แต่ผล MCV/MCH ปกติ ร้อยละ 31.98 ผลตรวจยืนยันตัวอย่างทั้งหมดพบเป็นพาหะเบตาธาลัสซีเมียและพาหะแอลฟาธาลัสซีเมีย 1 รวมกัน ร้อยละ 24.24 ในกลุ่มนี้มีตัวอย่างที่มีผล OF เป็นบวก แต่ผล MCV/MCH ปกติร้อยละ 0.27 (3 ราย) เมื่อพิจารณาผล MCV/MCH เพียงอย่างเดียว พบจำานวนคู่ที่มีโอกาสเสี่ยง 61 คู่ ซึ่งน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน 1 คู่ เป็นคู่ที่ฝ่ายหญิงมีผล MCV/MCH ปกติ มีชนิดฮีโมโกลบิน
เป็น A2A และปริมาณ Hb A2 ร้อยละ 3.6 ซึ่งลักษณะแบบนี้ไม่พบในพาหะธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้วิธี OF ซึ่งเกิดผลบวกปลอมได้ค่อนข้างมาก ร่วมกับ MCV/MCH มีประโยชน์น้อยในการตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง และยังเป็นการเพิ่มภาระงานและ
ค่าใช้จ่ายทั้งในขั้นตอนการตรวจคัดกรองและการตรวจยืนยัน