การปนเปื้อนสารอาร์เซนิกอนินทรีย์ แมงกานีส และไซยาไนด์ในเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ อาศัยอยู่ใกล้อุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่ไม่ได้ใช้งาน

ผู้แต่ง

  • ศรัล ขุนวิทยา สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

เด็ก, ไซยาไนด์, ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้, แมงกานีส, อาร์เซนิกอนินทรีย์

บทคัดย่อ

ผลกระทบต่อสุขภาพซึ่งเกิดจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ส่วนใหญ่จะมาจากการปนเปื้อนโลหะหนักที่เกิดจาก การขุด การถลุงแร่ การระบายน้ำผิวดินและน้ำชะขยะของเสีย เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดการกระจายของสารเคมีและโลหะหนักในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงและมีการปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร จากข้อมูลดังกล่าวการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสาร inorganic arsenic, manganese, cyanide ตรวจภาวะ inflammation และภาวะ oxidative stress  ในเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ซึ่งพำนักอาศัยอยู่ใกล้กับพื้นที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่หยุดการดำเนินงานชั่วคราว ผลการวิจัยพบระดับของ inorganic arsenic ในปัสสาวะสูงกว่าค่าปกติจำนวน 1 คน (ร้อยละ 3.6) พบระดับ manganese ในเลือดสูงกว่าปกติจำนวน 10 คน (ร้อยละ 35.7) และไม่พบระดับ cyanide สูงกว่าค่าปกติ นอกจากนี้การวิจัยพบระดับของ 8-Hydroxy-2′-deoxyguanosine (8-OHdG) และ C-reactive protein (CRP) มีค่าสูงกว่าปกติจำนวน 16 คน (ร้อยละ 57.14) และจำนวน 3 คน (ร้อยละ10.71) ตามลำดับ   การศึกษาครั้งนี้แสดงถึงเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้มีการปนเปื้อนโลหะหนักและมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ oxidative stress และภาวะ inflammation ดังนั้นการตรวจติดตามการปนเปื้อนโลหะหนักและผลกระทบทางสุขภาพในเด็กปกติหรือเด็กกลุ่มเปราะบางที่อาศัยอยู่ใกล้กับพื้นที่เสี่ยงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ในช่วงเวลากิจการนั้นดำเนินงานอยู่ปกติหรือหยุดดำเนินงานชั่วคราว จะช่วยป้องกันและบรรเทาผลกระทบทางทางสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-25

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ