การประเมินสมรรถนะการทดสอบและค่าใช้จ่ายสำหรับการควบคุมคุณภาพภายในของห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาในโรงพยาบาลศูนย์โดยการใช้ซิกมาเมทริกซ์

ผู้แต่ง

  • นภาพร อภิรัฐเมธีกุล 1.ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 2.หน่วยวิจัยด้านวัสดุอ้างอิงและนวัตกรรมทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก https://orcid.org/0000-0002-9994-8146
  • วันวิสาข์ ตรีบุพชาติสกุล 1.ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 2.หน่วยวิจัยด้านวัสดุอ้างอิงและนวัตกรรมทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก https://orcid.org/0000-0002-3436-0106
  • ผัสดีพร เพียรการ หน่วยวิจัยด้านวัสดุอ้างอิงและนวัตกรรมทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • โสภิดา โทแสง ศูนย์ทดสอบความชำนาญทางการแพทย์ วี เมด แล็บ จังหวัดพิษณุโลก
  • ครรชิต คงรส ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความเที่ยง , ความแม่น , ความผิดพลาดทางการตรวจวัด , การประกันคุณภาพ , การทดสอบความชำนาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้สำรวจข้อมูลการควบคุมคุณภาพของโรงพยาบาล จำนวน 43 แห่ง เพื่อประเมินสมรรถนะการตรวจทางโลหิตวิทยา จำนวน 7 รายการ ได้แก่ WBC, RBC, Hb, HCT, PLT, PT และ APTT ของห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลศูนย์ 5 แห่ง โดยใช้ซิกมาเมทริกซ์ และคำนวณค่าใช้จ่ายในการควบคุมคุณภาพภายในของโรงพยาบาล 1 แห่ง ผลการศึกษา พบว่า ห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาร้อยละ 58.1 ใช้เกณฑ์กฎเดียว mean±2SD เป็นเกณฑ์การควบคุมคุณภาพ/ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากขาดความรู้ความชำนาญในการแปลผลการควบคุมคุณภาพ  สมรรถนะของการตรวจทางโลหิตวิทยาของโรงพยาบาลศูนย์ 5 แห่ง จำนวน 7 รายการ ร้อยละ 82.4 มีค่าซิกม่า ≥3  จากการวิเคราะห์ข้อมูลการควบคุมคุณภาพภายในโดยการใช้ซิกมาเมทริกซ์ พบว่าร้อยละในการเกิด out of control มีค่าต่ำกว่าการใช้เกณฑ์กฎเดียว mean±2SD  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมคุณภาพภายใน ซึ่งดำเนินการตามสมรรถนะที่ประเมินด้วยซิกมาเมทริกซ์ ต่ำกว่าการใช้เกณฑ์กฎเดียว mean±2SD ร้อยละ 20.4 การวิจัยนี้สรุปได้ว่าสมรรถนะของการตรวจทางโลหิตวิทยา จำนวน 7 รายการ ของห้องปฏิบัติการสังกัดโรงพยาบาลศูนย์ 5 แห่ง ส่วนใหญ่มีค่าซิกม่าเมทริกซ์ไม่ต่ำกว่า 3 และใช้เกณฑ์กฎเดียว mean±2SD ในการตัดสินผลการควบคุมคุณภาพภายใน  ห้องปฏิบัติการที่มีการประเมินสมรรถนะด้วยซิกมาเมทริกซ์ และทบทวนการดำเนินการควบคุมคุณภาพให้เหมาะสม จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลง ประมาณร้อยละ 20 ต่อปี

Author Biographies

นภาพร อภิรัฐเมธีกุล, 1.ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 2.หน่วยวิจัยด้านวัสดุอ้างอิงและนวัตกรรมทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

อาจารย์ประจำ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

วันวิสาข์ ตรีบุพชาติสกุล , 1.ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 2.หน่วยวิจัยด้านวัสดุอ้างอิงและนวัตกรรมทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

อาจารย์ประจำ ภาควิชาเทคนิคการเเพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผัสดีพร เพียรการ, หน่วยวิจัยด้านวัสดุอ้างอิงและนวัตกรรมทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000

ผู้ช่วยวิจัย หน่วยวิจัยด้านวัสดุอ้างอิงและนวัตกรรมทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

โสภิดา โทแสง, ศูนย์ทดสอบความชำนาญทางการแพทย์ วี เมด แล็บ จังหวัดพิษณุโลก

ศูนย์ทดสอบความชำนาญทางการแพทย์ วี เมด แล็บ จังหวัดพิษณุโลก

ครรชิต คงรส, ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ประจำ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ