การเปรียบเทียบวิธีการตรวจอินเตอร์เฟียรอนแกมม่าด้วยชุดทดสอบ QuantiFERON-TB Gold Plus กับ Standard F TB-Ferron FIA (IFN-gamma)
คำสำคัญ:
การติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง, Interferon-Gamma Release Assay, QuantiFERON-TB Gold Plus, Standard F TB-Ferron FIAบทคัดย่อ
ตามเป้าหมายที่จะลดการแพร่ระบาดโรควัณโรค การตรวจวิเคราะห์การติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการลดการแพร่เชื้อได้ ซึ่งปัจจุบันวิธีที่นิยมใช้ในการคือการตรวจวัดระดับ Interferon-Gamma (IFN-γ) ใน IFN-γ release assay (IGRA) โดยชุดทดสอบ QuantiFERON-TB Gold Plus (QFT-Plus) แต่ชุดทดสอบนี้มีหลายขั้นตอนของ การทดสอบด้วยวิธี Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA) ต่อมาในปีค.ศ. 2019 ได้มีเทคนิคใหม่สำหรับตรวจวัดระดับ IFN-γคือการทดสอบด้วยวิธี STANDARD F TB-Feron FIA (IFN-gamma) การทดสอบนี้ใช้เครื่องอัตโนมัติ เพื่อลดภาระงานและเพิ่มความรวดเร็วในการรายงานผล วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเทียบประสิทธิภาพและความสัมพันธ์ของค่า IFN-γ ในกลุ่มตัวอย่าง 100 รายที่ถูกวิเคราะห์โดย QFT-Plus และ Standard F TB-Ferron FIA ผลการศึกษาพบว่า ผลบวกมีความสอดคล้องร้อยละ 74 (20/27) ผลลบมีความสอดคล้องร้อยละ 92 (58/63) และผล indeterminate มีความสอดคล้องร้อยละ 90 (9/10) ผลรวมความสอดคล้องของทั้งสองวิธีอยู่ที่ร้อยละ 87 ค่า Cohen’s kappa = 0.734 ให้ผลที่ไม่สอดคล้องกัน 13 ราย จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า ระดับ IFN-γ เมื่อตรวจวัดด้วย Standard F TB-Ferron FIA มีค่าความสอดคล้องกับวิธี QFT-Plus ค่าความสัมพันธ์ของการทดสอบ QFT-Plus ไม่ว่าจาก แอนติเจน TB1 หรือ TB2 มีความสัมพันธ์กับการทดสอบ Standard F TB-Ferron FIA เท่ากันแสดงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันคือ 0.82 ดังนั้นเพื่อช่วยลดภาระงาน Standard F TB-Ferron FIAสามารถนำมาใช้เป็นการทดสอบทางเลือกและใช้ในการตรวจหาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงได้