ประเมินการตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 จากตัวอย่างรวม ด้วยวิธี Real time RT-PCR ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นัตฏิยา ศรีสุราช กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

เชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ตัวอย่างรวม, real time RT-PCR

บทคัดย่อ

       การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาขนาดของตัวอย่างรวมที่เหมาะสม(optimal pool size) และประเมินตรวจการติดเชื้อ SARS-CoV2  (ไวรัสโคโรน่า 2019) ด้วยวิธี real time RT-PCR แบบรวมตัวอย่าง(pool sample) เทียบกับการตรวจด้วยตัวอย่างเดียว (single sample) ผลการศึกษาพบว่า การรวม 5 ตัวอย่าง สามารถใช้ตรวจการติดเชื้อ SARS-CoV2   ด้วยวิธี real time RT-PCR  ผลการทดสอบตัวอย่างผู้ป่วย จำนวน 310 ตัวอย่าง (ผลบวก 17 ตัวอย่าง, ผลลบ 293 ตัวอย่าง) ด้วย 62ตัวอย่างรวม เทียบกับ 310 ตัวอย่างเดียว พบว่าอัตราการตรวจพบเชื้อและตรวจไม่พบเชื้อของตัวอย่างรวม เทียบกับตัวอย่างเดียวคิดเป็น 100% ผลการทดสอบของตัวอย่างทั้งสองแบบมีความสอดคล้องกันในระดับที่ดีมาก ค่า Cohen’s Kappa (κ) เท่ากับ 1 การตรวจแบบรวมตัวอย่างมีค่า cycle threshold (Ct) เพิ่มขึ้นจากตัวอย่างเดียว ระหว่าง 0.78-3.55 และ 1.01-3.05 สำหรับ ORF-1ab และ N gene ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของค่า Ct ของ 17 ตัวอย่างที่ตรวจพบเชื้อ ด้วย Bland Altman Plot พบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยมีค่า mean difference เท่ากับ 2.06 และ 2.28 สำหรับ ORF-1ab และ N gene ตามลำดับ  การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้การรวมตั้งแต่ 2- 5 ตัวอย่าง ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ด้วยวิธี real time RT-PCR ได้ กรณีที่มีการระบาดของโรค การใช้ตัวอย่างรวมจะช่วยรองรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีปริมาณมาก ลดระยะเวลารอคอยผล ประหยัดค่าน้ำยาตรวจที่มีจำกัด และราคาแพง รวมถึงลดภาระงานของห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดที่ต้องระวังคือตัวอย่างที่มีปริมาณเชื้อน้อย หรือ Ct ≥ 38 อาจทำให้เกิดผลลบลวงได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-25

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ