การเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ความไว และผลของตัวยับยั้ง ชุดน้ำยาตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอสำเร็จรูป

ผู้แต่ง

  • ศุภกิจ คชาอนันต์

คำสำคัญ:

ดีเอ็นเอ, ประสิทธิภาพ, ความไว, สารยับยั้งกระบวนการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ

บทคัดย่อ

ลายพิมพ์ดีเอ็นเอมีประโยชน์ในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลทางคดี พิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดและการศึกษาบรรพบุรุษมนุษย์   การทดสอบดังกล่าวอาศัยชุดตรวจวิเคราะห์สำาเร็จรูปด้วยเทคนิค polymerase chain reaction ที่สะดวกและรวดเร็วเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและลดระยะเวลาในการทดสอบ  พารามิเตอร์ เช่น ประสิทธิภาพ  ความไว และความทนต่อสารยับยั้งเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาสำหรับการเลือกใช้ชุดตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว  ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำยาสำเร็จรูประหว่าง   Investigator®24 plex Go kit และ  PowerPlex®   Fusion 6C โดยเจือจางตัวอย่างดีเอ็นเอมาตรฐานความเข้มข้น  0.25 - 5.0 นาโนกรัมต่อไมโครลิตร  ศึกษาความทนต่อสารยับยั้งโดยทดสอบการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอร่วมกับแคลเซียมคลอไรด์    กรดฮิวมิก  หรือเฮมาติน จากนั้นเปรียบเทียบพารามิเตอร์  ได้แก่  ร้อยละจำนวนอัลลีลที่ตรวจวิเคราะห์ได้ ค่าเฉลี่ยความสูงของพีค heterozygous peak balance และ inter-locus balance ผลการทดลองพบว่า Investigator®24 plex Go kit ตรวจพบร้อยละจำนวนอัลลีล ค่าเฉลี่ยความสูงของพีค และ  heterozygous peak balance ได้ดีกว่า PowerPlex®  Fusion 6C kit ที่ความเข้มข้นของดีเอ็นเอระดับต่ำา แต่ PowerPlex® Fusion 6C kit ให้ค่า  inter-locus  balance  ในระดับต่ำและอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ ส่วนความทนต่อสารยับยั้งพบว่า Investigator®24  plex Go kit ทนทานต่อแคลเซียมคลอไรด์ได้ดี   ขณะที่ PowerPlex®  Fusion 6C kit ทนทานต่อเฮมาตินได้ดี แต่ไม่พบความแตกต่างของสองชุดตรวจเมื่อบ่มร่วมกับกรดฮิวมิก  จึงสรุปได้ว่าชุดตรวจทั้งสองมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ โดย Investigator®24 plex Go kit สามารถใช้ได้ดีแม้ว่าในตัวอย่างมีปริมาณดีเอ็นเอน้อย  และชุดตรวจทั้งสองมีความสามารถทนต่อสารยั้บยังได้แตกต่างกัน ข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นแนวทางสำหรับห้องปฏิบัติการในการเลือกใช้ชุดตรวจให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อช่วยการตรวจวิเคราะห์ให้ได้ผลการตรวจที่ถูกต้องและแม่นยำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ