การประเมินผลการตรวจค่าฮีโมโกลบินจากปลายนิ้วในผู้บริจาค โลหิตด้วยวิธีตรวจสอบความถ่วงจำเพาะด้วยน้ำยาคอปเปอร์ ซัลเฟตและเครื่องวัดฮีโมโกลบินแบบพกพา

ผู้แต่ง

  • สิทธิพร สุวรรณมิตร

คำสำคัญ:

การบริจาคโลหิต, การตรวจวัดค่าฮีโมโกลบิน, การคัดกรองผู้บริจาคโลหิต, เครื่องวัดฮีโมโกลบินแบบ พกพา, ฮีโมโกลบิน

บทคัดย่อ

การตรวจคัดกรองฮีโมโกลบินก่อนการบริจาคโลหิตถือเป็นขั้นตอนที่มีความสําาคัญ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริจาคโลหิตจะมีความปลอดภัยและเพื่อให้ได้โลหิตบริจาคที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีวิธีการตรวจคัดกรองฮีโมโกลบินหลากหลาย แต่ยังไม่พบวิธีที่เหมาะสมสําาหรับหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ การศึกษาครั้งนี้ต้องการประเมินประสิทธิภาพการตรวจวิเคราะห์ระดับฮีโมโกลบินและราคาของวิธีตรวจคัดกรองฮีโมโกลบินจากเลือดที่เจาะจากบริเวณปลายนิ้วของทั้งสามวิธี โดยเปรียบเทียบผลการทดสอบกับเครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติ โดยผู้บริจาคโลหิตจําานวน 311 ราย ได้รับการเจาะเลือดบริเวณปลายนิ้วเพื่อนําามาตรวจวิเคราะห์ค่าฮีโมโกลบินด้วยวิธีน้ําายาคอปเปอร์ซัลเฟตและเครื่องตรวจฮีโมโกลบินแบบพกพา 2 บริษัท ได้แก่ HemoCue® Hb 301 และ Hemocroma PLUS และยังได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดําามาตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติ Sysmex KX-21NTM เพื่อใช้เป็นค่าอ้างอิง ซึ่งผลการทดลองพบว่า วิธีน้ําายาคอปเปอร์ซัลเฟต HemoCue® Hb 301 และ Hemocroma PLUS มีความไวร้อยละ 100.0, 99.0 และ 97.6 มีความจําเพาะ ร้อยละ 38.9, 11.1 และ 55.5 ค่าทํานายผลบวก ร้อยละ 96.4, 94.7 และ 97.3 และค่าทํานายผลลบ ร้อยละ 100.0, 40.0 และ 58.8 ตามลําาดับ นอกจากนี้ยังพบว่าระดับค่าฮีโมโกลบินโดยเฉลี่ยที่ได้จากเครื่อง HemoCue® Hb 301 มีค่าสูงกว่าค่าฮีโมโกลบินโดยเฉลี่ยที่ได้จากเครื่องวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติ อย่างมีนัยสําาคัญ ในขณะที่ค่าฮีโมโกลบินโดยเฉลี่ยที่ได้จากเครื่อง Hemocroma PLUS มีค่า ใกล้เคียง กับค่าฮีโมโกลบินโดยเฉลี่ยที่ได้จากเครื่องวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติ และจากการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าฮีโมโกลบินโดยเฉลี่ยของแต่ละวิธีด้วยวิธี Bland Altman plot พบว่า ค่าความแตกต่างโดยเฉลี่ยของค่าฮีโกลบินที่ได้จากเครื่อง HemoCue® Hb 301 กับ Sysmex KX-21NTM เท่ากับ 0.60 ± 0.50 กรัมต่อเดซิลิตร และค่าความแตกต่างโดยเฉลี่ยของค่าฮีโกลบินที่ได้จากเครื่อง Hemocroma PLUS กับ Sysmex KX-21NTM เท่ากับ 0.58 ± 0.51 กรัมต่อเดซิลิตร และจากการวิเคราะห์ต้นทุนของแต่ละวิธี พบว่าวิธีน้ำยาคอปเปอร์ซัลเฟตมีค่าใช้จ่ายต่อการทดสอบหนึ่งครั้งน้อยที่สุด คือ 2.2 บาท ในขณะที่การตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง HemoCue® Hb 301 และ Hemocroma PLUS มีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 50.0 และ 40.0 บาท ตามลําดับ ถึงแม้ว่าผลการศึกษาครั้งนี้จะแสดงให้เห็นว่าวิธีการตรวจคัดกรองฮีโมโกลบินทั้งสามวิธีให้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่สอดคล้องกับเครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติ แต่ค่าฮีโกลบินที่ได้จากแต่ละวิธียังมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้บริจาค การเลือกวิธีการตรวจคัดกรองฮีโมโกลบินที่จะนํามาประยุกต์ใช้จําเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของวิธีต่อหน่วยงานและหาแนวทางที่สามารถลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากความแตกต่างของค่าฮีโกลบินที่ได้จากแต่ละวิธี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ