การเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะด้วยแถบ ทดสอบกับการเพาะเชื้อเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
คำสำคัญ:
แถบตรวจปัสสาวะสำาเร็จรูป, ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ, ไนไตรท์, ลิวโคซัยท์เอสเทอเรสบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการใช้แถบตรวจปัสสาวะสําาเร็จรูปไนไตรท์ (nitrite; N) และลิวโคซัยท์เอสเทอเรส (leukocyte esterase; LE) เปรียบเทียบกับผลการเพาะเชื้อจากปัสสาวะ ในการวินิจฉัยการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยที่มารับบริการการรักษาที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 จํานวนทั้งหมด 492 ตัวอย่าง ซึ่งผลการเพาะเชื้อในปัสสาวะ พบเชื้อจุลชีพ ร้อยละ 58.13 พบความชุกของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเพศหญิง (ร้อยละ 65.73) สูงกว่าในเพศชาย (ร้อยละ 34.27) เชื้อจุลชีพที่พบเกือบทั้งหมดเป็นแบคทีเรียชนิดแกรมลบ ซึ่งเชื้อที่พบมากที่สุดได้แก่ Escherichia coli (ร้อยละ 52.21) รองลงมาได้แก่ Klebsiella pneumoniae (ร้อยละ 9.18) และ Enterococcus faecalis (ร้อยละ 7.59) ตามลําดับ จากผลการตรวจตัวอย่างปัสสาวะด้วยแถบทดสอบสําาเร็จรูปไนไตรท์ (N) และ ลิวโคซัยท์เอสเทอเรส (LE) พบว่า มีค่าความไวร้อยละ 33.64 และ 81.12 ตามลําดับ และมีค่าความจําเพาะร้อยละ 97.57 และ 71.84 ตามลําดับ และเมื่อนําผลการทดสอบทั้งสองชนิดประกอบกันพบว่าจะได้ค่าความไว ความจําเพาะ การทํานายผลบวก และการทํานายผลลบ เป็นร้อยละ 67.18, 97.99, 96.70 และ 77.25 ตามลําดับ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้แถบทดสอบสําาเร็จรูป ไนไตรท์ และ ลิวโคซัยท์เอสเทอเรสร่วมกัน สามารถใช้เป็นแนวทางในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะก่อนการส่งเพาะเชื้อได้ แถบทดสอบสําาเร็จรูปมีความไวและการทํานายผลลบสูง และยังเป็นวิธีที่สะดวก ทําง่าย ราคาถูก ตรวจและอ่านผลได้ในทันที สามารถนํามาใช้ตรวจขั้นต้นเพื่อแยกปัสสาวะที่มีและไม่มีเชื้อออกจากกันได้Downloads
เผยแพร่แล้ว
2021-03-31
How to Cite
1.
ฉบับ
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ