การเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานผล nucleated red blood cell จากเครื่องวิเคราะห์เม็ดเลือดอัตโนมัติ Beckman Coulter Unicel®DxH
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, เครื่องตรวจวิเคราะห์เม็ดเลือดอัตโนมัติ, เม็ดเลือดแดงตัวอ่อนบทคัดย่อ
การตรวจสเมียร์เลือดเป็นวิธีมาตรฐานสำาหรับการนับจำานวน nucleated red blood cell (NRBC) แต่เป็นวิธีที่ใช้เวลา ใช้แรงงาน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ปัจจุบันเครื่องตรวจวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดอัตโนมัติหลายรุ่นสามารถตรวจนับจำนวน NRBC พร้อมกับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count; CBC) ได้ ซึ่งสะดวกและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดและปัจจัยรบกวนหลายอย่างที่อาจทำาให้ผลตรวจโดยเครื่องอัตโนมัติผิดพลาด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงคในการประเมินประสิทธิภาพของเครื่องอัตโนมัติที่ใช้ในห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อจัดทำแนวทางการรายงานผล NRBC ให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงที่สุด การศึกษาใช้เลือด 241 ตัวอย่าง นับจำนวน NRBC โดยเครื่อง Beckman Coulter Unicel®DxH800 เปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการตรวจสเมียร์เลือด จากนั้นได้ออกแบบแนวทางการรายงานผลโดยใช้การวิเคราะห์ receiver operatingcharacteristic (ROC) และแผนภูมิทางเลือกตัดสินใจ (decision tree) ประเมินประสิทธิภาพของแต่ละแนวทางโดยใช้สถิติ ความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก (PPV) ค่าทำนายผลลบ (NPV) และอัตราการตรวจสเมียร์เลือด โดยให้ความสำคัญกับค่าทำนายผลลบและอัตราผลลบลวงเป็นอันดับแรกเพื่อความถูกต้องของผลที่จะนำไปใช้วินิจฉัยผู้ป่วย และอัตราการตรวจสเมียร์เลือดที่จะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ของค่าที่ได้จากทั้งสองวิธีอยู่ในระดับที่ดี (r = 0.98; p < 0.0001, bias -0.7) และเมื่อศึกษาประสิทธิภาพของแนวทางการรายงานผล พบว่า แผนภูมิทางเลือกตัดสินใจที่สร้างขึ้นโดยใช้ค่า NRBC และ flag จากเครื่องตรวจวิเคราะห์ร่วมกันให้ค่าทำนายผลลบที่สูงคือร้อยละ 100 ไม่มีผลลบลวง และให้อัตราการตรวจสเมียร์เลือดต่ำากว่าการใช้เกณฑ์ตามขีดจำากัดของการระบุปริมาณ (limit of quantification; LOQ) ของเครองตรวจวิเคราะห์เพียงอย่างเดียว สรุปว่าเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัตสามารถใช้รายงานผล NRBC ได้ แต่ต้องหาเกณฑ์ หรือแนวทางการรายงานผลทเหมาะสมสำหรับแต่ละห้องปฏิบัติการ