การหาค่าอ้างอิงของการทดสอบ platelet aggregation test ด้วยหลักการ light transmission aggregometry ในประชากรไทย

ผู้แต่ง

  • นรินทร์ คงเจริญสกุล

คำสำคัญ:

ค่าอ้างอิง, การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด, ค่าปกติ, ประชากรไทย, การวัดการเกาะกลุ่มจากการส่งผ่าน ของแสง

บทคัดย่อ

การทดสอบการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการวินิจฉัยการทำาหน้าที่ผิดปกติของเกล็ดเลือด แต่กระนั้น ค่าอ้างอิงของการทดสอบได้รับผลกระทบจากตัวแปรหลายชนิด อาทิ เชื้อชาติ และความแตกต่างในขั้นตอนการวิเคราะห์ของแต่ละห้องปฏิบัติการ เนื่องจากยังไม่เคยมีการรายงานค่าอ้างอิงของการทดสอบดังกล่าวในประชากรไทยมาก่อน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าอ้างอิงของการทดสอบซึ่งอาศัยหลักการ light transmission aggregometry ในการตรวจวิเคราะห์งานวิจัยนเป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า โดยเก็บข้อมูลในห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่เดือนมกราคม  พ.ศ. 2561 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ผลการศึกษาพบว่า ค่าอัตราร้อยละของการเกาะกลุ่มสูงสุดซึ่งเป็นพารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการแปลผลการวิเคราะห์จำาแนกตามชนิดและความเข้มข้นของตัวกระตุ้นเกล็ดเลือดเป็นดังนี คอลลาเจนที่ความเข้มข้น 5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร  อยู่ที่ร้อยละ 64.79 ถึง 103.30 สำหรับ epinephrine ที่ความเข้มข้น 5 และ  10 ไมโครโมลต่อลิตร  อยู่ที่ร้อยละ  53.76 ถึง 104.56 และ  59.94 ถึง 100.70 ตามลำดับ ADP  ที่ความเข้มข้น 5 และ 10 ไมโครโมลต่อลิตร  อยู่ที่ร้อยละ 57.68 ถึง 97.06 และ 62.79 ถึง 100.51 ตามลำดับ ristocetin ที่ความเข้มข้น 1.2 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร อยู่ที่ร้อยละ 62.63 ถึง 93.99 และ  arachidonic acid ที่ความเข้มข้น 1.2 มิลลิโมลต่อลิตร  อยู่ที่ร้อยละ  63.32 ถึง 99.12 ซึ่งแตกต่างจากผลการศึกษาก่อนหน้านี้   เนื่องจากกลุ่มประชากรที่ศึกษาและขั้นตอนในการวิเคราะห์มีความแตกต่างกัน ดังนั้น จึงแนะนำาให้ห้องปฏิบัติการแต่ละแห่งหาค่าอ้างอิงของการทดสอบนี้ขึ้นเอง

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ