การทดสอบน้ำตาลในเลือด ณ จุดดูแลผู้ป่วย :ระบบบริหารจัดการและการพัฒนาคุณภาพ ในโรงเรียนแพทย์ขนาด 2,000 เตียง ประสบการณ์ 13 ปี

ผู้แต่ง

  • นิศารัตน์ โอภาสเกียรติกุล Department of Clinical Pathology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

คำสำคัญ:

การทดสอบน้ำตาลในเลือด ณ จุดดูแลผู้ป่วย, การประกันคุณภาพ POC, การพัฒนาคุณภาพ POC, ระบบบริหารจัดการ POC, ISO 22870

บทคัดย่อ

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของระบบบริหารจัดการการทดสอบน้ำตาลในเลือด ณ จุดดูแลผู้ป่วย (point-of-care glucose testing; POC Glucose) โดยวิเคราะห์จากผลการควบคุมคุณภาพภายใน (Internal Quality Control, IQC) ผลการประเมินคุณภาพจากองค์กรภายนอก (External Quality Assessment; EQA)  และผลการประเมินความพึงพอใจของแพทย์ พยาบาล/ผู้ใช้เครื่อง และผู้ป่วย ในโรงพยาบาลขนาด 2,000 เตียง ช่วงปี พ.ศ. 2550-2562 รวมระยะเวลา 13 ปี  โดยใช้วิธีศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผล IQC และ EQA ของจุดดูแลผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วยหอผู้ป่วยในและหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก  และผลการประเมินความพึงพอใจประจำปี 3 กลุ่ม ได้แก่ แพทย์  พยาบาล/ผู้ใช้เครื่อง และผู้ป่วย โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลระหว่าง 3 ช่วงของการพัฒนาคุณภาพ คือ ระยะที่ 1 พ.ศ.2550 มีการใช้เครื่องตรวจ POC Glucose ชนิดเดียวกันที่มีการเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศทุกหอผู้ป่วยและหน่วยตรวจ  แต่ไม่ได้นำระบบบริหารจัดการมาตรฐานสากลมาใช้ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2551-2557 ช่วงการนำระบบบริหารจัดการมาตรฐานสากล ISO 22870:2006 (First edition) มาใช้พัฒนางาน   ระยะที่ 3 พ.ศ.2558-2562 ช่วงที่นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ มีการเปลี่ยนเครื่องตรวจ POC Glucose ชนิดใหม่ และใช้ระบบบริหารจัดการมาตรฐานสากล ISO 22870:2016 (Second edition) และศึกษาข้อสรุปจากรายงานประชุมทบทวนบริหารจัดการประจำปีเพื่อยืนยันผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาระบบบริหารจัดการในแต่ละช่วง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า จำนวนจุดดูแลผู้ป่วยที่มีการตรวจ POC Glucose  ระหว่าง พ.ศ. 2550-2562 อยู่ในช่วง 141 ถึง 168 แห่ง  ผล IQC ระยะที่ 1 ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ระยะที่ 2  พบว่าหอผู้ป่วยและหน่วยตรวจร้อยละ 45.4- 99.5 มีผลความแม่นยำสูง แสดงโดยค่า coefficient of variation น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ10 (CV< 10 % ) ในระยะที่ 3 ช่วงปี พ.ศ.2558–2559 หอผู้ป่วยและหน่วยตรวจที่ IQC มีค่า CV < 10 %  มีร้อยละ 99.9 – 100.0  ในปี พ.ศ.2560 –2562ได้เปลี่ยนเกณฑ์การยอมรับเป็น 1/3 ของ allowable total error (TEa 20%) พบว่า หอผู้ป่วยและหน่วยตรวจร้อยละ 98.3-99.2  มีผล  CV  < 6.7 %   ผล EQA ระยะที่ 1 ไม่มีข้อมูลการดำเนินการ ระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2551-2552 ใช้โปรแกรมการประเมินคุณภาพภายใน (Internal Quality Assessment) แทน EQA ในปี พ.ศ. 2553- 2557 พบว่า หอผู้ป่วยและหน่วยตรวจที่มีผลอยู่ในเกณฑ์ยอมรับของ College of American Pathologists (CAP) มีร้อยละ 75.9–100.0  ในระยะที่ 3 ปี พ.ศ. 2558 -2559 พบว่า หอผู้ป่วยและหน่วยตรวจที่มีผลอยู่ในเกณฑ์ยอมรับ มีค่าร้อยละ 92.3- 100.0  และปี พ.ศ. 2560-2562 มีผลอยู่ในเกณฑ์ยอมรับร้อยละ 97.2- 100.0  ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมของแพทย์ พยาบาล/ผู้ใช้เครื่อง และผู้ป่วย มีแนวโน้มดีขึ้น และมากกว่าร้อยละ 92 ในทุกกลุ่ม ตั้งแต่ พ.ศ. 2560-2562  ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การนำมาตรฐานสากล ISO 22870 มาใช้พัฒนาระบบบริหารจัดการ ส่งผลให้การทดสอบ POC Glucose มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความแม่นยำ ความถูกต้อง และความพึงพอใจของแพทย์ พยาบาล/ผู้ใช้เครื่อง และผู้ป่วย แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการการทดสอบน้ำตาลในเลือด ณ จุดดูแลผู้ป่วยในโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่

เผยแพร่แล้ว

2021-09-14

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ