การศึกษาความคงทนของผลตรวจวิเคราะห์สารชีวเคมีในเลือดโดยใช้หลอดเก็บเลือดสุญญากาศ

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ พัฒนศรี

คำสำคัญ:

ความคงทน, สารชีวเคมี, หลอดเก็บเลือด

บทคัดย่อ

กระบวนการเก็บรักษาและระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งสิ่งส่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการ  มีผลทำให้การวิเคราะห์มีความคลาดเคลื่อนได้ อีกทั้งยังไม่มีข้อกำหนดของหน่วยงานเกี่ยวกับระยะเวลาในการขอส่งตรวจการทดสอบเพิ่ม โดยใช้ตัวอย่างเลือดเดิม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคงทนของการตรวจวิเคราะห์ glucose, BUN (blood urea nitrogen), creatinine, aspartate aminotransferase (AST) และ alanine aminotransferase (ALT) ในหลอดชนิดต่างๆ ได้แก่ Gel & Clot, Clot Activator, Heparin, Sodium Fluoride (NaF) และ Gel & Heparin โดยใช้ตัวอย่างเลือดจากอาสาสมัคร 90 ราย นำมาปั่นตกและตรวจวัดสารเคมี ที่เวลา  0, 1, 2, 4, 8, 24, 48 และ 72 ชั่วโมง นำผลตรวจวัดที่ได้เทียบกับผลตรวจวัดทันที และเทียบกับ allowable total error (TEa) และช่วงเกณฑ์การยอมรับทางคลินิก (significant change limit; SCL) ผลการศึกษาพบว่าการทดสอบ glucose ในหลอดชนิด NaF ที่เวลา 72 ชั่วโมง ค่าไม่แตกต่างจากค่าหลังตรวจวิเคราะห์ทันที (p = 0.270) และค่าทั้งหมดอยู่ภายในช่วงเกณฑ์การยอมรับทางคลินิก สำหรับหลอดชนิด Gel & Clot, Clot Activator และ Heparin  ให้ค่าแตกต่างจากค่าที่ตรวจวัดทันทีอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เวลา 24, 4 และ 4 ชั่วโมง (p =0.015, 0.001 และ 0.004 ตามลำดับ) โดยค่ายังอยู่ในช่วงเกณฑ์การยอมรับทางคลินิก ภายใน 48, 4และ 4 ชั่วโมงตามลำดับ ส่วนการทดสอบในหลอดชนิด Gel & Heparin โดยไม่แยกซีรัมหรือพลาสมาในการทดสอบ BUN, creatinine และ ALT ที่เวลา 48 ชั่วโมง ค่าอยู่ในช่วงเกณฑ์การยอมรับทางคลินิก และไม่แตกต่างจากค่าที่ได้หลังตรวจวิเคราะห์ทันที (p = 0.067, 0.161 และ 1.000 ตามลำดับ) สำหรับการตรวจวิเคราะห์ ALT พบว่ามีค่าอยู่ในช่วงเกณฑ์การยอมรับทางคลินิก แต่ค่าแตกต่างจากค่าที่ตรวจวัดทันทีอย่างมีนัยสำคัญที่เวลา 24 ชั่วโมง (p < 0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-24

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ