การตรวจหาเชื้อยีสต์จากลำไส้ของแมลงสาบโดยเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอร์เรสและการหาลำดับเบสบริเวณ Internal Transcribed Spacer 1 และ 2 (ITS1-2)

ผู้แต่ง

  • พัชรี กัมมารเจษฎากุล

คำสำคัญ:

แมลงสาบ, เทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอร์เรส, Internal transcribed spacer, ยีสต์

บทคัดย่อ

แมลงสาบเป็นพาหะนำเชื้อโรคหลากหลายชนิด มีนิสัยกินอาหารได้ทุกประเภท พบมากในบริเวณที่พักอาศัยของมนุษย์ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะนำเชื้อยีสต์ก่อโรคมาสู่มนุษย์ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของเชื้อยีสต์ที่อยู่ในลำไส้ของแมลงสาบจากบริเวณห้องชุดที่พักอาศัยในชุมชนเคหะบางพลี ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้เทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอร์เรส (PCR) บริเวณ internal transcribed spacer 1 และ 2 (ITS1-2) และหาลำดับเบสโดยการทำ sequencing เปรียบเทียบกับฐานข้อมูล NCBI ผลการวิจัยพบเชื้อยีสต์ที่สามารถก่อโรคในมนุษย์ร้อยละ 75  ได้แก่ Candida tropicalis, C. glabrata, C. nivariensis, C. palmioleophila, Pichia kudriavzevii  (ร้อยละ 40, 20, 5, 5, และ 5 ตามลำดับ) และเชื้อยีสต์ที่ไม่พบรายงานการก่อโรคในมนุษย์ร้อยละ 25  สำหรับเชื้อยีสต์ที่ก่อโรคในมนุษย์พบรายงานการก่อโรคในกลุ่มเสี่ยง อีกทั้งยังพบอุบัติการณ์การดื้อต่อยาต้านเชื้อราในกลุ่ม azole มากขึ้นในปัจจุบัน  ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแมลงสาบเป็นพาหะที่สำคัญของยีสต์ที่มีความสำคัญทางการแพทย์ในสิ่งแวดล้อมของชุมชน

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-24

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ