การเตรียมตัวอย่างควบคุมคุณภาพการตรวจปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์

ผู้แต่ง

  • ปราโมทย์ ศรีวาณิชรักษ์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มธ.

คำสำคัญ:

ตัวอย่างควบคุมคุณภาพ, สไลด์ตะกอนปัสสาวะ, การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ

บทคัดย่อ

การประเมินคุณภาพการตรวจปัสสาวะ ประกอบด้วยการตรวจทางเคมีและการดูตะกอนปัสสาวะ ปัจจุบันหน่วยงานที่ให้บริการ การควบคุมคุณภาพระหว่างองค์กรภายในประเทศไทย ยังไม่ครอบคลุมทั้ง 2 ส่วน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินตัวอย่างปัสสาวะเทียมสำหรับการตรวจทางเคมีและสไลด์ตะกอนปัสสาวะสำหรับแยกชนิดของตะกอนปัสสาวะ  โดยเตรียมตัวอย่างปัสสาวะเทียม 2 ระดับ (ปกติและผิดปกติ) นำตัวอย่างปัสสาวะเทียมที่เตรียมไปทดสอบกับเครื่องตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะอัตโนมัติจำนวน 3 เครื่อง และทดสอบกับแถบทดสอบทางเคมีจำนวน 6 บริษัท รวมทั้งทดสอบความเป็นเนื้อเดียวกันและความเสถียรนาน 6 เดือน สไลด์ตะกอนปัสสาวะที่เตรียมประกอบด้วยเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดขาวที่จับกลุ่ม เม็ดเลือดแดง เซลล์เยื่อบุชนิดสแควมัส แคลเซียมออกซาเลท และแบคทีเรีย สไลด์ที่เตรียมถูกทดสอบประสิทธิภาพและความเสถียรนาน 6 เดือน  หลังจากนั้นปัสสาวะเทียมและสไลด์ตะกอนปัสสาวะถูกประเมินโดยห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์จำนวน 62 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า เครื่องตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะอัตโนมัติให้ค่าสอดคล้องกันทุกรายการทดสอบ และการทดสอบกับแถบทดสอบพบว่าส่วนใหญ่ให้ผลสอดคล้องกัน การทดสอบความเป็นเนื้อเดียวกันและความเสถียรพบว่า ไม่มีความเปลี่ยนแปลง การทดสอบสไลด์ตะกอนปัสสาวะพบว่า สามารถบอกชนิดได้อย่างถูกต้องหลังจากเก็บนาน 6 เดือน การประเมินจากห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ ตัวอย่างปัสสาวะเทียมระดับปกติและระดับผิดปกติรายงานผลสอดคล้องกับค่าที่กำหนดมากกว่าร้อยละ 98.4 และมากกว่าร้อยละ 92 ตามลำดับ ยกเว้นคีโตนและเม็ดเลือดขาว การรายงานตะกอนปัสสาวะถูกต้องร้อยละ 98.4  สรุปการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะด้วยตัวอย่างปัสสาวะเทียมและสไลด์ตะกอนปัสสาวะ แสดงให้เห็นว่ามีความเหมาะสมที่นำไปใช้ในการควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ

เผยแพร่แล้ว

2021-09-14

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ