การพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยแอนติเจนของเชื้อเลปโตสไปราในปัสสาวะด้วยวิธีอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์โดยใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดีจำเพาะต่อตัวเชื้อ

ผู้แต่ง

  • จินตภา เสือสวย

คำสำคัญ:

โรคเลปโตสไปโรซิส, การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์โดยใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดี, การตรวจหาแอนติเจน, การวินิจฉัย

บทคัดย่อ

เลปโตสไปโรซิส เป็นโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนที่มีอันตรายถึงชีวิต การวินิจฉัยโรคในระยะเฉียบพลันยังไม่ดีพอ  เนื่องจากมีอาการป่วยที่คล้ายกับโรคติดเชื้ออื่น อีกทั้งวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เป็นมาตรฐาน ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเชื้อ หรือ วิธี microscopic agglutination test (MAT) มีความไวต่ำ ในการศึกษานี้คณะผู้วิจัยได้ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibody; MAb) ที่จำเพาะกับเชื้อเลปโตสไปรา ถึง 24 serovars ประกอบด้วย serovars Australis, Autumnalis, Ballum, Bangkok, Bataviae, Bratislava, Canicola, Cynopteri, Djasiman, Grippotyphosa, Hardjo, Hebdomadis, Icterohaemorrhaegiae, Louisiana, Pomona, Pyrogenes, Ranarum, Saigon, Sarmin, Sejroe, Shermani, Tarassovi, Wolffi, และ Patoc โดย MAb ที่ผลิตได้เป็นชนิด  immunoglobulin  M Kappa (IgMκ) ที่จำเพาะกับแอนติเจนที่ตัวเชื้อ และแอนติเจนที่เชื้อปล่อยออกมา โดยไม่ทำปฏิกิริยากับเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น คือ Aeromonas hydrophila, Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Proteus spp., Pseudomonas aeruginosa, Salmonella spp., Shigella spp. และ Streptococcus spp. เมื่อนำ MAb นี้มาพัฒนาเป็นชุดทดสอบ MAb-based immunofluorescence assay (MAb-IFA) พบว่าสามารถตรวจหาเชื้อเลปโตสไปราได้ 24 serovars และไม่ทำปฏิกิริยากับเชื้อแบคทีเรียอื่นทั้ง 8 ชนิดข้างต้น  โดยชุดทดสอบนี้สามารถตรวจหาเชื้อปริมาณน้อยที่สุดที่ 1.5 ตัวต่อไมโครลิตร ดังนั้นในการตรวจใช้สิ่งส่งตรวจ 20 ไมโครลิตร จะต้องมีเชื้อเลปโตสไปราอย่างน้อย 30 ตัว ข้อดีของวิธี MAb-IFA คือ ราคาถูก มีความไว สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นวิธีทดสอบในห้องปฏิบัติการทั่วไป เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซิส ซึ่งการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ จะทำให้เกิดผลดีต่อการรักษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-24

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ