Sigma Metric เครื่องมือสำคัญในการจัดการคุณภาพ: กรณีศึกษาจาก Serum Total Carbon-dioxide

ผู้แต่ง

  • พรเพ็ญ ศรีสวัสดิ์

คำสำคัญ:

ซิกมาเมทริกซ์, คาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดในตัวอย่างซีรัม, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ, การควบคุมคุณภาพ, ข้อผิดพลาดในการตรวจวัด

บทคัดย่อ

Six Sigma เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกสำหรับประยุกต์ใช้กับระบบการจัดการคุณภาพการทดสอบทางห้องปฏิบัติการคลินิก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่า Sigma-metric อาจให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมในการตรวจจับข้อผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการทดสอบที่มีความไวต่อการรบกวนที่กระบวนการควบคุมคุณภาพทั้งจากภายในห้องปฏิบัติการและจากองค์กรภายนอกไม่สามารถตรวจจับได้ ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาที่อาคารหลัก (Building 1) และที่อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ (SDMC) โรงพยาบาลรามาธิบดีได้วางระบบการปฏิบัติงาน รวมถึงระบบประกันคุณภาพไว้เป็นแนวทางเดียวกัน   และเข้าร่วม Westgard Sigma Verification of Performance Program สำหรับประเมินการทดสอบทางเคมีคลินิกจำนวน 32 รายการ  โดยการทดสอบจะมีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ต้องมีระดับ Sigma-metric ตั้งแต่ 4-Sigma ขึ้นไป  ผลการประเมิน Sigma-metric พบว่าทุกรายการทดสอบจากทั้ง 2 ห้องปฏิบัติการมีค่าตั้งแต่ 4-Sigma ขึ้นไป  ยกเว้นการทดสอบ serum total carbon-dioxide (TCO2) ที่อาคารหลักได้ค่า 5.1-Sigma  ในขณะที่อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ได้ค่า 2.2-Sigma  ทั้งที่ผลการควบคุมคุณภาพการทดสอบ TCO2 ที่อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ให้ผลอยู่ในเกณฑ์ยอมรับ   ภายหลังการปรับปรุง แก้ไข ระบบปฏิบัติการอย่างใกล้ชิด พบว่าสาเหตุสำคัญเกิดจากระดับ CO2 ในบรรยากาศที่อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์มีค่าผันแปรสูงมากตลอดทั้งวันคือมีค่าตั้งแต่ 776 ถึง 1917 ppm ในขณะที่ระดับ CO2 ในบรรยากาศที่อาคารหลักมีค่าผันแปรน้อยคืออยู่ระหว่าง 528 ถึง 831 ppm   ผลการตรวจวัดความเข้มข้นของ TCO2 ในตัวอย่างควบคุมคุณภาพและ ระดับ CO2 ในบรรยากาศที่ทำซ้ำ ๆ ทุก 2 ชั่วโมงที่อาคารหลักพบว่ามีความเสถียร  ในขณะที่อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์พบว่าผลการตรวจวัดสูงขึ้นอย่างชัดเจนระหว่างช่วงเวลา 10:00 น. ถึง 16:00 น. โดยมีค่าสูงสุดที่เวลา 12:00 น. ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ CO2 ในบรรยากาศ Six Sigma จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการระบุความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการทดสอบที่มีความไวต่อการรบกวน ซึ่งความคลาดเคลื่อนนี้ไม่สามารถระบุได้โดยกระบวนการควบคุมคุณภาพทั้งจากภายในห้องปฏิบัติการและจากองค์กรภายนอก   จึงควรนำ Sigma-metric มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการคลินิก เพื่อปรับปรุงและตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบการทดสอบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-17

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ