การพัฒนาวิธีตรวจชนิดของพิษงูกลุ่มงูพิษที่ออกฤทธิ์ต่อระบบโลหิตโดยใช้แอนติบอดีที่ออกแบบให้จำเพาะต่อชนิดของพิษงู
คำสำคัญ:
พิษงูกลุ่มงูพิษที่ออกฤทธิ์ต่อระบบโลหิต, อีไลซา, แอนติบอดีที่ออกแบบจำเพาะต่อชนิดของงูพิษบทคัดย่อ
อุบัติการณ์การถูกงูพิษกัดยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย การรักษาผู้ถูกงูพิษกัดจำเป็นต้องรู้ชนิดของงูพิษที่กัดเพื่อจะให้เซรุ่มแก้พิษงูที่จำเพาะต่อพิษของงูที่กัด ในการศึกษานี้ได้พัฒนาเทคนิค enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) สำหรับตรวจชนิดของพิษงูที่ออกฤทธิ์ทางระบบโลหิต (พิษงูเขียวหางไหม้ พิษงูกะปะ และพิษงูแมวเซา โดยใช้อิมมูโนโกลบูลินที่จำเพาะต่อพิษงูแต่ละชนิด ซึ่งแยกจากพลาสมาของม้าที่ได้รับการกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีต่อพิษงูนั้น จากการแยกด้วย affinity chromatography ได้ความเข้มข้นของอิมมูโนโกลบูลินที่จำเพาะต่อพิษของงูเขียว งูกะปะ และงูแมวเซาเท่ากับร้อยละ 4.62, 5.97, และ 3.43 ตามลำดับ โดยสามารถตรวจระดับพิษต่ำสุดได้ที่ 12.5 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร อย่างไรก็ตามวิธีนี้ไม่สามารถตรวจวัดระดับพิษได้กรณีที่ผู้ป่วยมีความเข้มข้นของพิษในพลาสมาต่ำมากๆ (น้อยกว่า 12.5 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร) นอกจากนี้ยังพบปฏิกิริยาข้ามกัน (cross reactivity) ภายในกลุ่มพิษงูเหล่านี้อีกด้วย