โรคพยาธิปากขอ

ผู้แต่ง

  • นันทวดี เนียมนุ้ย

คำสำคัญ:

โรคพยาธิปากขอ, Ancylostoma duodenale, Necator americanus, ภาวะโลหิตจาง, การติดต่อของโรคพยาธิปากขอ

บทคัดย่อ

โรคพยาธิปากขอในมนุษย์ เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศพัฒนาน้อยและประเทศกำลังพัฒนา มีการระบาดมากในเขตอบอุ่นและร้อนชื้น เกิดจากการติดเชื้อพยาธิสำคัญ 2 ชนิดคือ Ancylostoma duodenale และ Necator  americanus ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกมากถึง 600-740 ล้านคน ในประเทศไทยพบการติดเชื้อในภาคใต้สูงกว่าภาคอื่นๆของประเทศ  โดยการติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นชนิด N. americanus โรคพยาธิปากขอเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ การเจริญเติบโต พัฒนาการการเรียนรู้ ประสิทธิภาพการเรียนและการทำงานของผู้ติดเชื้อ  นอกจากนี้ยังพบการติดต่อของโรคพยาธิปากขอจากสัตว์สู่คน ได้แก่ A. braziliense, A. caninum และ A. ceylanicum  ทำให้เกิดรอยโรคที่ผิวหนังเรียกว่า cutaneous larva migrans และภาวะลำไส้อักเสบชนิด eosinophilic enteritis การตรวจวินิจฉัยพยาธิปากขอโดยทั่วไปใช้วิธีการตรวจทางปรสิตวิทยา แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการตรวจทางอณูชีววิทยาระดับโมเลกุล ซึ่งมีความจำเพาะและสามารถจำแนกเชื้อได้ถึงระดับ species หลักการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิปากขอที่สำคัญคือ การให้การศึกษาแก่ชุมชนเกี่ยวกับความสำคัญของโรคพยาธิ วิธีการติดต่อเข้าสู่ร่างกาย การป้องกันโดยการรักษาสุขอนามัย รวมถึงการให้ยาถ่ายพยาธิแก่ชุมชนที่มีการระบาดของโรค และขณะนี้ได้มีการพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการควบคุมและป้องกันโรคพยาธิได้ดียิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-17

How to Cite

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์