ไวรัสไข้หวัดนก H7N9

ผู้แต่ง

  • จารุณี ประเสริฐโสภณ

บทคัดย่อ

ไวรัสไข้หวัดนก subtype H7N9 มีรายงานการก่อโรคในคนเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 ที่ประเทศจีน จากนั้นพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ แต่ปัจจุบันโรคก็ยังจำกัดอยู่ในจีนหรือในผู้ป่วยที่มีประวัติการเดินทางไปยังแดนระบาดในจีนเท่านั้น ไวรัสไข้หวัดนก H7N9 สามารถติดเชื้อในคนได้ดีกว่าไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ผู้ป่วยไข้หวัดนก H7N9 อาจมีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ หรือมีปอดบวมรุนแรง มีภาวะการหายใจลำบากเฉียบพลัน และเสียชีวิตในที่สุด อัตราตายประมาณร้อยละ 39 ยังสามารถใช้ยา oseltamivir และ zanamivir ในการรักษาได้แต่ต้องให้ยาโดยเร็ว ในการระบาดระลอกที่ 5 พบว่าไวรัสมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นจากการที่มีกรดอะมิโนชนิด basic amino acids หลายเรสิดิวส์แทรกเข้าไปอยู่ตรงตำแหน่งตัด (cleavage site) ของโปรตีนฮีแมกกลูตินิน ทำให้เชื้อไวรัสที่แต่เดิมเป็นสายพันธุ์ก่อโรคไม่รุนแรงในสัตว์ปีก คือ ไม่ทำให้สัตว์ปีกป่วย และตาย กลายเป็นเชื้อที่ก่อโรครุนแรง สัตว์ปีกที่ติดเชื้อจะป่วย และตายอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ประเทศจีนเข้าสู่การระบาดเป็นระลอกที่ 7 แล้ว โดยเชื้อที่แพร่ระบาดมีทั้งชนิดก่อโรครุนแรงและไม่รุนแรงในสัตว์ปีกผสมกัน ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีไวรัสไข้หวัดนก H7N9 ในประเทศไทย แต่มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไทยมีความเสี่ยงที่อาจได้รับเชื้อแพร่ระบาดเข้ามาได้ในอนาคต ดังนั้นถ้าบุคลากรสาธารณสุขของไทยมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัส H7N9 จะทำให้ประเทศมีศักยภาพ และความพร้อมที่จะปฏิบัติการตอบโต้และควบคุมการระบาดของโรคได้ทันท่วงที

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-17

How to Cite

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์