การติดเชอในกระแสเลือดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
บทคัดย่อ
การติดเชื้อในเลือด (bacteremia) เป็นสาเหตุสำาคัญที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของผู้ป่วย ทั้งนี้ข้อมูลอบุัติการณ์และรูปแบบความไวต่อสารต้านจลชีพเปน็เครองมือสาำ คัญทงในด้านการรักษาผปู่วยและการควบคุมโรคติดเชื้อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อในกระแสเลือด ชนิดและความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชอแบคทีเรียจากเลือดของผปู่วยทเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนงเกล้าศึกษาโดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยจากเวชสถิติ และผลตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดทางห้องปฏิบัติการทประกอบด้วยผลเพาะเชอและผลทดสอบความไวต่อสารต้านจุลชีพของเชอืช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่า มีการส่งตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อจากผู้ป่วย 6,049 ราย ในจำานวนดังกล่าว แพทย์วินิจฉัยว่าติดเชื้อในกระแสเลือด 523 ราย เสียชีวิต 209 ราย (ร้อยละ 40.0) ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 56.5 ปี (SD = 24.5 ปี) โดยผู้ป่วยกลุ่มอายุ 60-79 ปีมีการติดเชื้อมากที่สุด หอผู้ป่วยที่มีจำานวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดคือ กลุ่มหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรคพื้นฐานเดิมของผู้ป่วยที่พบมากที่สุดคือ โรคระบบไต จำานวนวันนอนของผู้ป่วยติดเชื้อในกระเเส เลือดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.8 วัน (SD = 38 วัน) เชื้อสาเหตุพบเป็นเชื้อกลุ่มแกรมลบรูปแท่ง กลุ่มแกรม บวกรูปกลม และเชื้ออื่นๆ คิดเป็น ร้อยละ 50.1, 45.7 และ 4.2 ตามลำาดับ เชื้อที่พบ 10 อันดับแรก ได้แก่ Coagulase negative Staphylococcus (CoNS), Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Staphylococcus aureus, Acinetobacter baumannii, Enterococcus faecalis, Pseudomonas aeruginosa, Streptococcus group B, Streptococcus group A และ Proteus mirabilis เชื้อก่อโรค ที่พบมีลักษณะการดื้อยาหลายขนานและเชื้อทุกชนิดมีแบบแผนความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพที่ แตกต่างกัน จึงควรต้องทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพทุกครั้ง เพื่อการเลือกใช้ยาที่เหมาะสม และเพื่อเป็นการป้องกันการดื้อยาในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ