การศึกษาเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์ HbA1c โดยใช้เลือดจากหลอด EDTA Blood กับ NaF-EDTA Blood โดยเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ Furuno CA-800

ผู้แต่ง

  • ผุสดี โตบันลือภพ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสหเวชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ฮีโมโกลบินเอวันซี, โรคเบาหวาน, เลือดที่มีสารกันเลือดแข็ง EDTA, เลือดที่มีสารกันเลือดแข็ง NaF-EDTA, การตรวจวิเคราะห์โดยใช้หลักการอิมมิวโนวิทยาด้วยการวัดความขุ่น

บทคัดย่อ

การวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วยการตรวจวัดระดับ hemoglobin A1c (HbA1c) หรือ glycated hemoglobin ถือเป็นแนวทางเวชปฏิบัติสำาหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560 ที่กำาหนดไว้เพื่อช่วยในการ ประเมินระดับน้ำาตาลกลูโคสย้อนหลัง 1-2 เดือน ปัจจุบันนิยมใช้หลอดเก็บเลือดที่มี EDTA เป็นสาร กันเลือดแข็ง (EDTA blood) ในการตรวจวิเคราะห์ HbA1c และใช้หลอดที่มี NaF เป็นสารกันเลือดแข็ง (NaF blood) เพื่อตรวจหาระดับกลูโคส และส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งตรวจ HbA1c ควบคู่กับการตรวจหา ระดับกลูโคส แต่ปัญหาทพบบ่อย คือ การไม่ได้เก็บเลือดด้วยหลอด EDTA blood เพอส่งตรวจหาระดับ HbA1c ดังนั้นหากมีการสั่งตรวจ HbA1c   จึงมีความจำาเป็นต้องเจาะเลือดใส่ในหลอดที่มี EDTA เป็นสารกันเลือดแข็งเพมิ่อีกหนงหลอด   และตองเจาะเลอดในปริมาณมาก   ผวู     ิจัยจึงมีความสนใจศกษาเปรยบเทียบการตรวจวิเคราะห์ระดับ HbA1c ที่ใช้เลือดจากหลอด EDTA และเลือดจากหลอดทมีีส่วนผสมของNaF กับ Na2EDTA ปริมาณ 3.0 มิลลิกรัมและ 6.0 มิลลิกรัมในเลือดปริมาตร 2 มิลลิลิตรNaF-EDTA) จากผู้รับบริการรายเดียวกัน จำานวน 199 ราย ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำาปี ของศูนย์บริการสุขภาพคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนำาไปวิเคราะห์ระดับ HbA1c ด้วยเครื่องอัตโนมัติ Furuno CA-800 โดยใช้หลักการ turbidimetric immunoassay ผลการศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการตรวจวิเคราะห์ HbA1c ในหลอด EDTA blood และหลอด NaF-EDTA blood มีค่าเท่ากับ 5.9549 ± 0.9553% และ 5.8567 ± 0.9519% ตามลำาดับ และไม่มี ความแตกต่างอย่างมีนัยสาำ คัญทางสถิติ(p > 0.05) โดยค่าที่ได้จากหลอดเลือดทงสองชนิดมีความสัมพันธ์ กันดี (r = 0.9869) และมีสมการถดถอยเชิงเส้นตรง y = 0.9854x - 0.0315 (p = 0.001) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการตรวจวัด HbA1c ด้วยหลอด NaF-EDTA blood ให้ผลไม่แตกต่างจากหลอด EDTA blood จึงสามารถใช้ NaF-EDTA blood สำาหรับตรวจ HbA1c ได้ ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมใน ตัวอย่างที่มีระดับ HbA1C หลายช่วงค่าหรือ ในกลุ่มตัวอย่างที่มี Hb variant รวมถึง การศึกษาผลการตรวจวัดกลูโคสในตัวอย่างที่เก็บในหลอด NaF-EDTA blood เปรียบเทียบกับหลอดที่มี NaF เพียง อย่างเดียว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-04

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ