การศึกษาค่าความไวและการเจือจางในการตรวจวิเคราะห์ ซีรัมไทโรกลอบูลินในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิด differentiated
คำสำคัญ:
ไทโรกลอบูลิน, การเจือจาง, สารบ่งชี้มะเร็ง, มะเร็งต่อมไทรอยด์บทคัดย่อ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการตรวจวิเคราะห์ซีรัมไทโรกลอบูลิน (Tg) สำาหรับโรคมะเร็งต่อม
ไทรอยด์ ได้แก่ ค่าความไวของการทดสอบ การรบกวนจากแอนติบอดี้ต่อไทโรกลอบูลิน (TgAb) และ
ผู้ป่วยที่มีค่าไทโรกลอบูลินสูงซึ่งต้องทำาการเจือจาง ดังนั้นห้องปฏิบัติการควรดำาเนินการวิเคราะห์ปัจจัย
ดังกล่าว รวมถึงหาแนวทางในการตรวจวิเคราะห์สำาหรับโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ การศึกษานี้ผู้วิจัย
วิเคราะห์ค่าความไวของการทดสอบ Tg , TgAb และ thyroid stimulating hormone (TSH) ตามวิธีการ
ของ National Academy of Biochemistry โดยใช้หลักการ electrochemiluminescence immunoassay
มีค่าเท่ากับ 0.11 ng/mL, 28.3 IU/mL และ 0.014 µIU/mL ตามลำาดับ เมื่อใช้ functional sensitivity
ของ TgAb ที่ได้จากการศึกษานี้ พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่จัดเป็น TgAb-positive จำานวน
20.9 เปอร์เซ็นต์ จากผู้ป่วยจำานวน 1,426 ราย การวิเคราะห์ค่าซีรัมไทโรกลอบูลินและระดับสัญญาณ
การตรวจวิเคราะห์ก่อนการเจือจาง (undiluted signal) จำานวน 343 ราย พบความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง
ระหว่างค่าซีรัมไทโรกลอบูลินและ undiluted signal จนถึง 5,079,926 relative light units (RLU)
(r2 = 0.98) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีค่าซีรัมไทโรกลอบูลินสูงและมีค่า undiluted signal น้อยกว่า 5,000,000
RLU ควรทำาการเจือจางที่ 1:10 หากมีค่า undiluted signal มากกว่า 5,000,000 RLU ให้ทำาการเจือจาง
ที่ 1:100 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าซีรัมไทโรกลอบูลินเมื่อทำาการเจือจางที่ต่างกันนี้ จำานวน
45 ราย มีค่าต่างกัน 4.2 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่เกิน total allowable error ของ Tg เท่ากับ 21.9 เปอร์เซ็นต์
การศึกษานี้ทำาให้ห้องปฏิบัติการสามารถบริการผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง แม่นยำาและมีประสิทธิภาพสูงสุด
สามารถเป็นแนวทางหรือแหล่งอ้างอิงได้ในอนาคต