การประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลตรังโดยใช้ระดับกลูโคสในพลาสมาภายหลังอดอาหารและระดับฮีโมโกลบินเอวันซี

ผู้แต่ง

  • Tassanee - Sirithansakul Trang Hospital

คำสำคัญ:

ระดับกลูโคสหลังงดอาหาร, ฮีโมโกลบินเอวันซี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลตรังและหน่วยบริการเครือข่าย โดยใช้ระดับกลูโคสในพลาสมาหลังงดอาหาร (FPG) และฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตรังและหน่วยบริการเครือข่ายระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 จำนวน 3,156 ราย เป็นเพศหญิง 1,996 ราย (ร้อยละ 63.2) และเพศชาย 1,160 ราย (ร้อยละ 36.8) มีอายุเฉลี่ย 61.8 ± 12.5 ปี ส่วนใหญ่มีอายุ ระหว่าง 51-60 ปี (940 ราย; ร้อยละ 29.8) และ หน่วยบริการที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษามากที่สุดคือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (1,145 ราย; ร้อยละ 36.3) เมื่อประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลโดยใช้ค่า FPG และ HbA1c พบว่ากลุ่มที่สามารถควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์ (FPG ≤ 130 mg/dL, HbA1c< 7%) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (399 ราย; ร้อยละ 34.4) ช่วงอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 70 ปี (783 ราย; ร้อยละ 40.5) และเข้ารับการรักษาที่หน่วยบริการงานผู้ป่วยนอก (306 ราย; ร้อยละ 34.2) กลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ทั้งในวันตรวจเลือดและช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (949 ราย; ร้อยละ 47.5) ช่วงอายุ 51-60 ปี (506 ราย; ร้อยละ 53.8) และเข้ารับการรักษาที่หน่วยบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (542 ราย; ร้อยละ 47.4) เมื่อประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมโดยใช้ระดับ HbA1c พบว่ากลุ่มที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมได้ตามเกณฑ์ (HbA1c< 7 %) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (541 ราย; ร้อยละ 46.6) ช่วงอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 70 ปี (440 ราย; ร้อยละ 56.2) และเข้ารับการรักษาที่หน่วย บริการงานผู้ป่วยนอก (414 ราย; ร้อยละ 46.3) กลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ในระดับ สูงมาก (HbA1c ≥ 9%) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (422 ราย; ร้อยละ 21.1) ช่วงอายุ 51-60 ปี (235 ราย; ร้อยละ 25.0) และเข้ารับการรักษาที่หน่วยบริการงานผู้ป่วยนอก (207 ราย; ร้อยละ 23.1) สรุปได้ว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลตรังและหน่วยบริการเครือข่ายส่วนใหญร้อยละ 68.9 ไม่สามารถ ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ ดังนั้นควรรณรงค์และปรับเปลี่ยนระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มผู้ป่วยเพศหญิงผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี และกลุ่มผู้ป่วยของหน่วยบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

How to Cite

ฉบับ

บท

บทความวิจัยอย่างสั้น