ผลของการใช้อุปกรณ์ขูดผิวหนังต่อระดับความหวาดกลัวจากการขูดผิวหนังในผู้ป่วยเด็กที่มารับการรักษา ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

ผู้แต่ง

  • pratoom buranakool 420/8 สถาบันสุขภาพเด็กเเห่งชาติมหาราชินี ถ.ราชวิถี เขตราชเทวี กท. 10400
  • Siridawan Poonyapattanasakul

คำสำคัญ:

มีดพลาสติก, ขูดผิวหนัง, ผู้ป่วยเด็ก

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผลเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (cross sectional studies survey) ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่าระดับคะแนนความกลัวในการรับบริการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อราที่ห้องปฏิบัติการเชื้อรา โดยเปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดพลาสติก (plastic blade) และอุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดสเตนเลส (banana blade) รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการใช้อุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดพลาสติก โดยศึกษาในผู้ป่วยเด็กอายุ 3-6 ปี ทั้งหมด 30 คน ที่มารับบริการที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าต้องได้รับการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อราที่ห้องปฏิบัติการเชื้อรา โดยใช้พื้นที่ในการขูดไม่น้อยกว่า 1 ตารางเซนติเมตร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวของผู้ป่วย การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ในรูปจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยความกลัวจากการใช้อุปกรณ์ขูดผิวหนัง 2 ชนิดในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดยใช้ค่าสถิติ Mann-Whitney U test

จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเด็กที่เป็นกลุ่มทดลอง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 66.7) ส่วนตัวอย่างในกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53.3) กลุ่มทดลองมีคะแนนค่าเฉลี่ยความกลัวต่ออุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดพลาสติกเท่ากับ 1.9 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.3  ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนค่าเฉลี่ยความกลัวก่อนใช้อุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดสเตนเลส  เท่ากับ 2.8 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.5 ค่า p-value เท่ากับ 0.122 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระดับความกลัวก่อนใช้มีดพบว่า ทั้งกลุ่มที่ใช้อุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดพลาสติก และกลุ่มที่ใช้อุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดสเตนเลส มีระดับความกลัวก่อนใช้มีดที่ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อนำข้อมูลระดับความกลัวขณะใช้มีด พบว่าความกลัวอุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดพลาสติกและอุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดสเตนเลส  มีความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p<0.05) โดยค่าเฉลี่ยความกลัวขณะใช้อุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดพลาสติกเท่ากับ 1.6  และค่าเฉลี่ยความกลัวขณะใช้อุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดสเตนเลสเท่ากับ 3.8

การใช้อุปกรณ์ขูดผิวหนังมีดพลาสติกช่วยลดระดับความหวาดกลัวจากการขูดผิวหนังในผู้ป่วยเด็กได้ดีกว่าอุปกรณ์ขูดผิวหนัง       มีดสเตนเลส

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ