พัฒนาผู้สูงวัยสู่ภาวะ "พฤฒิพลัง"

ผู้แต่ง

  • Suda Wongsawat Bureau of Mental Health Promotion and Development

คำสำคัญ:

ผู้สูงวัย, พฤฒิพลัง

บทคัดย่อ

           การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทยและประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society)ทำให้หลายประเทศต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเพื่อรองรับประชากรสูงวัยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาให้ผู้สูงอายุพึ่งตนเองได้  มีศักยภาพ สามารถทำประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัวและสังคมได้ ตามนโยบายขององค์การอนามัยโลก ซึ่งตรงกับแนวคิด “พฤฒิพลัง” หรือ Active Aging (มีบางคนใช้คำว่า “วุฒิวัย” เช่น สุภจักษ์ แสงประจักษ์สกุล1คำนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 1990 โดย องค์การอนามัยโลก2เป็นคำที่เกี่ยวข้องกับคำว่า Healthy Aging ที่หมายถึง การเป็นผู้สูงอายุที่ปราศจากโรค และรวมถึงการมีความสามารถในการใช้ร่างกาย สรีรวิทยา จิตใจ และสังคม ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการชราที่เกิดขึ้น ให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม3 และเครื่องมือที่ประเมิน Healthy Aging หรือการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะในบริบทวัฒนธรรมไทยคือ การใช้ชีวิตเรียบง่ายและพอประมาณ  การจัดการกับความเครียด  การมีสัมพันธภาพที่ดีและได้รับการสนับสนุนจากคนในครอบครัวและเพื่อนบ้าน  การทำบุญและสะสมความดี  การตระหนักรู้และดูแลตนเอง  การไม่อยู่นิ่งเฉยด้านร่างกาย  มีการบริหารความคิด  มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม  การยอมรับการสูงวัย4โดย  Active Ageing จะอยู่บนฐานของ

          - Human right of older adult (สิทธิมนุษยชน) ได้แก่ ผู้สูงอายุสามารถจะทำอะไรก็ได้ตามสิทธิที่มีอยู่ เช่น สามารถขึ้นรถโดยสารประจำทางได้ เป็นต้น

          - Independence (การมีชีวิตที่อิสระ) ได้แก่ การมีส่วนร่วม (participation) การมีศักดิ์ศรี (dignity)  การได้รับการดูแล (care)  การทำให้สำเร็จด้วยตนเอง (selffulfillment) 

- Active Aging เป็นกระบวนการ (Process) ของ successful aging หรือการสูงวัยที่ประสบความสำเร็จนั่นคือ เป็นผู้สูงวัยที่สามารถช่วยเหลือ สอนแนะผู้อื่นได้ (Interpersonal relationship) และสามารถถ่ายทอดข้อมูล เพิ่มคุณค่าแก่สังคม มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ (productive activity)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

ฉบับ

บท

ปกิณกะ