การมีสุขภาวะที่ดีและครบถ้วนอย่างยั่งยืนของผู้สูงอายุไทย
คำสำคัญ:
สุขภาวะ, ผู้สูงอายุไทยบทคัดย่อ
เดือนตุลาคมเป็นเดือนที่มีความหมายสำหรับผู้สูงอายุและงานสุขภาพจิต เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุสากล (international day of older persons) โดยกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534 โดยในปี พ.ศ. 2567 นี้ได้กำหนดหัวข้อหลักไว้ว่า “สูงวัยอย่างสง่างาม: ความสำคัญของการเสริมสร้างระบบการดูแลและการช่วยเหลือทั่วโลก (ageing with dignity: the importance of strengthening care and support systems for older persons worldwide)”1 ขณะเดียวกันสมาพันธ์สุขภาพจิตโลก (world federation for mental health: WFMH) ได้กำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันสุขภาพจิตโลก (world mental health day) โดยกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1992 หรือ พ.ศ. 2535 โดยในช่วง 2 ปีแรก วันสุขภาพจิตโลกได้ส่งเสริมให้มีการตระหนักรู้ในเรื่องของสุขภาพจิตทั่วไป จนอีก 2 ปีถัดมา คือ พ.ศ. 2537 จึงได้เริ่มกำหนดให้มีหัวข้อหลักโดยเฉพาะของแต่ละปี สำหรับ พ.ศ. 2567 นี้ วันสุขภาพจิตโลกมีหัวข้อหลักว่า “สุขภาพจิตในที่ทำงาน (mental health in the workplace)”2 และเมื่อ 2 ปีที่แล้ว คือ ปี พ.ศ. 2565 ได้มีหัวข้อหลักว่า “สร้างสุขภาพจิตและสุขภาวะสำหรับทุกคนเป็นเรื่องสำคัญระดับโลก (make mental health & wellbeing for all a global priority)” ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องสุขภาวะสำหรับทุกคน ดังนั้นในการประชุมวิชาการประจำปีจิตเวชศาสตร์ไทย ครั้งที่ 52 ประจำปี พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 7 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 นี้ จึงมีหัวข้อหลักว่า “let’s cultivate mental wellbeing for all” ...อ่านต่อในไฟล์บทความ...
Downloads
References
United Nations. International day of older persons 1 October. 2024 [cited 2024 Oct 5]. Available from: https://www.un.org/en/observances/older-persons-day
World Federation for Mental Health. World mental health day 2024. 2024 [cited 2024 Oct 5] Available from: https://wfmh.global/.
Department of Older Persons, Ministry of Social Development and Human Security. The current aging society and the economy in Thailand. 2021 [cited 2024 Oct 5]. Available from: https://www.dop.go.th/th/know/15/926 (in Thai)
Jarden A, Roache A. What is wellbeing? Int J Environ Res Public Health. 2023;20(6):5006. doi:10.3390/ijerph20065006.
Wikipedia. Well-being. [cited 2024 Oct 5]. Available from: https://en.m.wikipedia.org/wiki/Well-being
Davis T. What Is well-being? definition, types, and well-being skills. Psychology Today; 2024 [cited 2024 Oct 5]. Available from: https://www.psychologytoday.com/intl/blog/click-here-for-happiness/201901/what-is-well-being-definition-types-and-well-being-skills
Jeste DV, Depp CA, Vahia IV. Successful cognitive and emotional aging. World Psychiatry. 2010;9(2):78-84. doi:10.1002/j.2051-5545.2010.tb00277.x.
Zábó V, Ungvari Z, Csiszar A, Purebl G. Psychological resilience and competence: key promoters of successful aging and flourishing in late life. GeroScience. 2023;45:3045-58. doi:10.1007/s11357-023-00856-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย