การพัฒนาแนวปฏิบัติการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก
คำสำคัญ:
การรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก, แนวปฏิบัติ, โรงพยาบาลจิตเวชบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกสำหรับสหวิชาชีพในโรงพยาบาลจิตเวช
วิธีการ : การวิจัยและพัฒนาในโรงพยาบาลจิตเวช 7 แห่ง ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2567 ตามกรอบการพัฒนาเทคโนโลยี ได้แก่ การวิเคราะห์ความต้องการ การพัฒนากรอบแนวคิด การร่างต้นแบบ การตรวจสอบคุณภาพ การทดลองใช้ และการขยายผล เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มและแบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใช้แนวปฏิบัติ และสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผล : แนวปฏิบัติการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ การสั่งการรักษา การขอความยินยอม การดูแลก่อนการรักษา การดูแลระหว่างการรักษา การดูแลหลังการรักษาในห้องสังเกตอาการ การดูแลหลังการรักษาในหอผู้ป่วย และการประเมินผลการรักษา มีการปรับตามข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การทบทวนแนวทางการสั่งการรักษาด้วยยาตามหลักฐานทางวิชาการปัจจุบัน การขอความยินยอมที่อิงกฎหมายปัจจุบัน เกณฑ์การติดตามสัญญาณชีพในระหว่างและหลังการรักษา เกณฑ์การประเมินภาวะสับสน และการเฝ้าระวังและติดตามภาวะแทรกซ้อนทางกายและการรู้คิดหลังการรักษา
สรุป : แนวปฏิบัติการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกที่พัฒนาขึ้นสามารถเป็นต้นแบบและปรับใช้แนวปฏิบัตินี้ในโรงพยาบาลจิตเวชตามแต่บริบทเพื่อส่งเสริมผลลัพธ์ที่ดีขึ้นของผู้ป่วย
Downloads
References
Maixner DF, Weiner R, Reti IM, Hermida AP, Husain MM, Larsen D, et al. Electroconvulsive therapy is an essential procedure. Am J Psychiatry. 2021;178(5):381-2. doi:10.1176/appi.ajp.2020.20111647.
Narayan CL, Deepanshu M. Electroconvulsive therapy: a closer look into legal provisions in the MHCA, 2017. Indian J Psychol Med. 2022;44(3):293-6. doi:10.1177/02537176221077309.
Andrade C, Shah N, Tharyan P. The dilemma of unmodified electroconvulsive therapy. J Clin Psychiatry. 2003;64(10):1147-52. doi:10.4088/jcp.v64n1002.
Shukla GD. Modified versus unmodified ECT. Indian J Psychiatry. 2000; 42:445-6.
Thirthalli J, Sinha P, Sreeraj VS. Clinical practice guidelines for the use of electroconvulsive therapy. Indian J Psychiatry. 2023;65(2):258-69. doi:10.4103/indianjpsychiatry.indianjpsychiatry_491_22.
Weiss A, Hussain S, Ng B, Sarma S, Tiller J, Waite S, et al. Royal Australian and New Zealand College of psychiatrists professional practice guidelines for the administration of electroconvulsive therapy. Aust N Z J Psychiatry. 2019;53(7):609-23. doi:10.1177/0004867419839139.
Procopio M. NICE guidelines and maintenance ECT. Br J Psychiatry. 2003;183(3):263. doi:10.1192/bjp.183.3.263.
Ittasakul P. Electroconvulsive therapy. 1st ed. Bangkok: Mahidol University; 2022. (in Thai)
Choovanichvong S. Guideline for electroconvulsive treatment. Journal of Mental Health of Thailand. 2012;20(1):9-18. (in Thai)
Palitnonkiat Y, Khunkhaumchoo P, Rujirachakhorn S, Saetae S. Manual of research and development for technology in mental health. Nonthaburi: Department of Mental Health; 2001. (in Thai)
Zolezzi M. Medication management during electroconvulsant therapy. Neuropsychiatr Dis Treat. 2016; 12:931-9. doi:10.2147/NDT.S100908.
Anderson IM. Interactions between ECT and prescribed medication. In: Ferrier IN, Waite J, editors. The ECT Handbook. 4th ed. Cambridge: Cambridge University Press; 2019 [cited 2024 Jul 3]. p. 218-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย