ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญในนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ติดเชื้อโควิด 19 : การศึกษาแบบผสมผสาน

ผู้แต่ง

  • ลักษิกา ศรีโรจนกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 6 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รัษฎากร ชัยวัง นักศึกษาชั้นปีที่ 6 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชบาไพร โพธิ์สุยะ, ภ.ม. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อวิรุทธ์ อวิรุทธ์, พ.บ. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://orcid.org/0000-0001-5878-9620
  • ชิดชนก เรือนก้อน, วท.ด. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://orcid.org/0000-0001-7927-1425

คำสำคัญ:

โควิด 19, นักศึกษามหาวิทยาลัย, โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกและปัจจัยการเกิดโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (post-traumatic stress disorder: PTSD) และสำรวจประสบการณ์และผลกระทบจากการติดเชื้อในนักศึกษาที่ติดเชื้อโควิด 19

วิธีการ : การวิจัยแบบผสมผสานในนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ที่ติดเชื้อโควิด 19 แบ่งเป็น ส่วนที่ 1 การศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ด้วยแบบคัดกรอง PTSD checklist for DSM-5 (PCL-5) ค้นหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับ PTSD ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก และส่วนที่ 2 การสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์และผลกระทบจากการติดเชื้อและการรักษาตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผล : กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ 118 คน พบความชุก PTSD (PCL-5 gif.latex?\geq 31 คะแนน) ร้อยละ 14.4 (95% CI = 8.6 - 22.1) ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเกิด PTSD ได้แก่ ความคิดฆ่าตัวตาย (AOR = 8.45, 95% CI = 1.32 - 54.07) ความรู้สึกผิดในการติดเชื้อ (AOR = 11.47, 95% CI = 1.23 - 107.37) ช่วงเวลาที่ติดเชื้อเดือนมกราคม ถึง เมษายน พ.ศ. 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเมษายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2564 (AOR = 12.00, 95% CI = 1.84 - 78.21) การตีตราทางสังคม (AOR = 12.54, 95% CI = 2.10 - 74.89) ปัจจัยที่ลดโอกาสเกิด PTSD ได้แก่ รายได้ครอบครัวต่อเดือนมากกว่า 50,000 บาท เมื่อเทียบกับไม่เกิน 20,000 บาท (AOR = 0.08, 95% CI = 0.01 - 0.98) และการรับการรักษาในสถานพยาบาล (AOR = 0.05, 95% CI = 0.005 - 0.53) ตัวแบบสุดท้ายสามารถทำนาย PTSD โดยมีพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.94 (95% CI = 0.90 - 0.98) การสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มตัวอย่าง 10 คนพบว่ากลุ่มตัวอย่างรู้สึกมีความวิตกกังวลกับการติดเชื้อโควิด 19 โดยเฉพาะการเป็นสาเหตุของการติดเชื้อของบุคคลรอบข้าง และได้รับผลกระทบต่อร่างกายรวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน

สรุป : นักศึกษาที่ติดเชื้อโควิด 19 มี PTSD ร้อยละ 14.4 ผลการศึกษาช่วยระบุและคัดกรองนักศึกษาที่มีความเสี่ยงโดยมหาวิทยาลัยสามารถนำไปใช้วางแผนช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินที่คล้ายคลึงกันในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ลักษิกา ศรีโรจนกุล, นักศึกษาชั้นปีที่ 6 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

References

World Health Organization. WHO Coronavirus dashboard [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2023 [cited 2023 Jun 9]. Available from: https://COVID19.who.int/.

วัชชิรานนท์ ทองเทพ. โควิด-19 : "นิวไฮ" ต่อเนื่อง ตัวเลขคนติด-คนตาย บอกอะไรเราเกี่ยวกับการระบาดในไทย ["New High" continue The number of people trapped and dead Tell us what about the outbreak in Thailand] [อินเทอร์เน็ต]. ลอนดอน: บีบีซี นิวส์ ไทย; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564]. จาก: https://www.bbc.com/thai/thailand-57708265

World Health Organization. Vitual press conference on COVID-19 in the western pacific [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2020 [cited 2021 Jun 9]. Available from: https://www.who.int/westernpacific/news-room/speeches/detail/virtual-press-conference-on-covid-19-in-the-western-pacific

Fan C, Li M, Li X, Zhu M, Fu P. Who got infected with COVID-19? a study of college students in Wuhan (China). Int J Environ Res Public Health. 2021;18(5):2420. doi:10.3390/ijerph18052420.

Boden M, Cohen N, Froelich JM, Hoggatt KJ, Abdel Magid HS, Mushiana SS. Mental disorder prevalence among populations impacted by coronavirus pandemics: a multilevel meta-analytic study of COVID-19, MERS & SARS. Gen Hosp Psychiatry. 2021;70:124-33. doi:10.1016/j.genhosppsych.2021.03.006.

Sareen J. Posttraumatic stress disorder in adults: impact, comorbidity, risk factors, and treatment. Can J Psychiatry. 2014;59(9):460-7. doi:10.1177/070674371405900902.

Weathers FW, Litz BT, Keane TM, Palmieri PA, Marx BP, Schnurr PP. The PTSD checklist for DSM-5 (PCL-5) - standard [measurement instrument] [Internet]. Washington DC: U.S. Department of veterans Affairs; 2013 [cited 2021 Jun 9]. Available from: http://www.ptsd.va.gov/.

Li X, Fu P, Fan C, Zhu M, Li M. COVID-19 stress and mental health of students in locked-down colleges. Int J Environ Res Public Health. 2021;18(2):771. doi:10.3390/ijerph18020771.

Browning MHEM, Larson LR, Sharaievska I, Rigolon A, McAnirlin O, Mullenbach L, et al. Psychological impacts from COVID-19 among university students: risk factors across seven states in the United States. PLoS One. 2021;16(1):e0245327. doi:10.1371/journal.pone.0245327.

Tarsitani L, Vassalini P, Koukopoulos A, Borrazzo C, Alessi F, Di Nicolantonio C, et al. Post-traumatic stress disorder among COVID-19 survivors at 3-month follow-up after hospital discharge. J Gen Intern Med. 2021;36(6):1702-7. doi:10.1007/s11606-021-06731-7.

Wintermann GB, Petrowski K, Weidner K, Strauß B, Rosendahl J. Impact of post-traumatic stress symptoms on the health-related quality of life in a cohort study with chronically critically ill patients and their partners: age matters. Crit Care. 2019;23(1):39. doi:10.1186/s13054-019-2321-0.

Yuan Y, Liu ZH, Zhao YJ, Zhang Q, Zhang L, Cheung T, et al. Prevalence of post-traumatic stress symptoms and its associations with quality of life, demographic and clinical characteristics in COVID-19 survivors during the post-COVID-19 era. Front Psychiatry. 2021;12:665507. doi:10.3389/fpsyt.2021.665507.

Cheng P, Jasinski N, Zheng W, Yadava A, Wang L, Li L, et al. Psychometric properties of the primary care PTSD screen for DSM-5: findings from family members of Chinese healthcare workers during the outbreak of COVID-19. Front Psychiatry. 2021;12:695678. doi:10.3389/fpsyt.2021.695678.

Nochaiwong S, Ruengorn C, Awiphan R, Ruanta Y, Boonchieng W, Nanta S, et al. Mental health circumstances among health care workers and general public under the pandemic situation of COVID-19 (HOME-COVID-19). Medicine (Baltimore). 2020;99(26):e20751. doi:10.1097/MD.0000000000020751.

ณรัฐฐา หน่อพันธุ์, เมตตา เลิศเกียรติรัชตะ, มาลี เกตแก้ว. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคโควิด 19 ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [Prevalence and associated factors of mental health problems among COVID-19 patients in 4 southern border provinces of Thailand]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2566;31(1):12-21.

Sher L. The concept of post-traumatic mood disorder and its implications for adolescent suicidal behavior. Minerva Pediatr. 2008;60(6):1393-9.

Asim M, van Teijlingen E, Sathian B. Coronavirus disease (COVID-19) and the risk of post-traumatic stress disorder: a mental health concern in Nepal. Nepal J Epidemiol. 2020;10(2):841-4. doi:10.3126/nje.v10i2.29761.

Ruengorn C, Awiphan R, Wongpakaran N, Wongpakaran T, Nochaiwong S; Health Outcomes and Mental Health Care Evaluation Survey Research Group (HOME-Survey). Association of job loss, income loss, and financial burden with adverse mental health outcomes during coronavirus disease 2019 pandemic in Thailand: a nationwide cross-sectional study. Depress Anxiety. 2021;38(6):648-60. doi:10.1002/da.23155.

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มช. ตั้งโรงพยาบาลสนามเชียงใหม่ 2 (หอ 5 หญิง มช.) รองรับนักศึกษาและบุคลากรที่ติดเชื้อโควิด-19 [CMU set up Sanam Chiang Mai Hospital 2 (Dorm 5, CMU Women) to accommodate students and staff infected with COVID-19] [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: ศูนย์; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2566]. จาก: https://cmu.ac.th/th/article/96e921c5-7f30-457a-9dc1-671a1dd69a2b

เบญจพร ปัญญายง, สุลินดา จันทรเสนา. ปัญหาสุขภาพจิตนักเรียนในพื้นที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ [Mental health problems among students in the area with continuous insurgency in the deep south of Thailand]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2552;17(1):1-11.

เบญจพร ปัญญายง, รัชนีกร เอี่ยมผ่อง. อาการโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญและภาวะซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ [Mental health problems among children and adolescents affected by continuous insurgency in the deep south of Thailand]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2552;54(4):347-56.

Tang W, Hu T, Hu B, Jin C, Wang G, Xie C, et al. Prevalence and correlates of PTSD and depressive symptoms one month after the outbreak of the COVID-19 epidemic in a sample of home-quarantined Chinese university students. J Affect Disord. 2020;274:1-7. doi:10.1016/j.jad.2020.05.009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-25