ความชุกและแนวโน้มปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ปี พ.ศ. 2563 - 2565

ผู้แต่ง

  • วรวรรณ จุฑา, กศ.ม. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • กมลลักษณ์ มากคล้าย, ส.บ. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • ดวงดาว ศรีเรืองรัตน์, ส.ม. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • เรวดี จายานะ, ส.บ. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

ความคิดทำร้ายตนเอง, ความเครียด, ความชุก, ภาวะซึมเศร้า, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อรายงานความชุกและแนวโน้มปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยระหว่างการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ปี พ.ศ. 2563 - 2565

วิธีการ : การศึกษาเชิงพรรณนา ใช้ข้อมูลการสำรวจการรับรู้และปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 - 2565 สำรวจทุก 2 สัปดาห์ ถึง 6 เดือนในคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปจากการสุ่มหลายขั้นตอน ใช้แบบวัดความเครียดศรีธัญญา (ST-5) และแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า (PHQ-9) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอความชุกเป็นร้อยละ และทดสอบความแตกต่างของความชุกปัญหาสุขภาพจิตจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลด้วยสถิติ chi-square

ผล : ตัวอย่างทั้งหมด 55,333 คน เป็นหญิงร้อยละ 67.0 อายุเฉลี่ย 45.2 ปี (SD = 16.6) และเป็นเกษตรกรร้อยละ 24.7 ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2565 พบความชุกความเครียดร้อยละ 3.7 ภาวะซึมเศร้าร้อยละ 8.2 และความคิดทำร้ายตนเองร้อยละ 1.3 โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นจนถึงระดับคงตัวตั้งแต่การระบาดระลอกที่ 1 - 4 ปัญหาสุขภาพจิตในแต่ละเขตสุขภาพมีแนวโน้มขึ้น ๆ ลง ๆ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยทุกเขตสุขภาพมีความชุกสูงสุดในการระบาดระลอกที่ 3 (เมษายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2564) พบความชุกความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความคิดทำร้ายตนเองสูงสุดในกลุ่มอายุ 18 - 24 ปี และผู้ที่ว่างงาน

สรุป : ความชุกปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นตามความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ควรมีการวางแผนเตรียมพร้อมป้องกันและดูแลปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยในกรณีการแพร่ระบาดในอนาคต โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและกลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคม

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Mental health and COVID-19: early evidence of the pandemic’s impact scientific brief [internet]. Geneva: World Health Organization; 2022 [cited 2023 May 5]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Sci_Brief-Mental_health-2022.1

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, แพรว ไตลังคะ. มุมมองด้านสุขภาพจิตและจิตสังคม ของการระบาด COVID-19 [Addressing mental health and psychosocial aspects of COVID-19 outbreak]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563.

วชิระ เพ็งจันทร์, ปริตตา หวังเกียรติ. 4 wave ระบบสาธารณสุขไทยกับผลกระทบระยะยาวจากโควิด 19 [4 wave Thai public health system and the long-term impact of COVID-19] [อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: สำนักข่าว Hfocus; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2565]. จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/04/19160

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต. แผนฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [Combat 4th wave of COVID-19 plan: C4]. นนทบุรี: กอง; 2563.

Liu S, Yang L, Zhang C, Xiang YT, Liu Z, Hu S, et al. Online mental health services in China during the COVID-19 outbreak. Lancet Psychiatry. 2020;7(4):e17-8. doi:10.1016/S2215-0366(20)30077-8.

Varma P, Junge M, Meaklim H, Jackson ML. Younger people are more vulnerable to stress, anxiety and depression during COVID-19 pandemic: a global cross-sectional survey. Prog Neuropsychopharmacol Biol Psychiatry. 2021;109:110236. doi:10.1016/j.pnpbp.2020.110236.

Farooq S, Tunmore J, Wajid Ali M, Ayub M. Suicide, self-harm and suicidal ideation during COVID-19: a systematic review. Psychiatry Res. 2021;306:114228. doi:10.1016/j.psychres.2021.114228.

เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์, สิรินรัตน์ แสงศิริลักษณ์. ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [Stress and depressed mood in healthcare workers during COVID-19 outbreak]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2563;65(4):400-8.

นุชนาฎ รักษี, กนกพร ดอนเจดีย์, นันทนัช สงศิริ, วนันดา ดีสวัสดิ์, สาลินี จันทร์เจริญ, อารี อยู่ภู่. ความเครียด ความวิตกกังวล และสัมพันธภาพในครอบครัวของประชาชนไทยภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกแรก [A study of the stress, anxiety and family relationships among Thai people after the COVID-19 pandemic in the early stages]. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 2563;17(1):94-108.

ลัดดดา อินไหม, ชัยณรงค์ มากเพ็ง, พยนันทวุฒิ วงศ์เมฆ, นวรัตน์ เมามีจันทร์, ซอลาฮ เด็งมาซา. ความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของความเครียด ความกังวล และภาวะซึมเศร้า ของวัยรุ่นในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): กรณีศึกษาโรงเรียนรัษฎา จังหวัดตรัง [Prevalence and factors related to teen stress, anxiety and depression during the outbreak of Coronavirus 2019 (COVID-19): a case study of ratsada school, Trang province]. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 2565;15(2):48-59.

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต, บรรณาธิการ. รายงานการถอดบทเรียนการเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระดับเขตสุขภาพ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 [Report on taking lessons learned on preparation for the outbreak of Coronavirus disease 2019 (COVID-19) area health: January 1, 2020 - July 1, 2022]. นนทบุรี: สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

วรวรรณ จุฑา, ดวงกมล ลืมจันทร์, เขมจิรา โกกิฬา, รักษ์ เรืองจุติโพธิ์พาน, ยุพาวดี พรมบุตร, กมลวรรณ จันทรโชติ. สถานการณ์ความเครียดของคนไทย ปี พ.ศ. 2552 - 2554 [Stress situation of Thai population in 2009 - 2011]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2554.

วรวรรณ จุฑา, กมลลักษณ์ มากคล้าย, ชญานนท์ ต้นใส. ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย: การสำรวจการรับรู้และปัญหาสุขภาพจิตคนไทยจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครั้งที่ 2 (วันที่ 30 มีนาคม - 4 เมษายน พ.ศ. 2563) [Mental health in Thai people: The 2nd survey of perceptions and mental health of Thai people from coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic March 30 - April 4, 2020]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563.

อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดความเครียดศรีธัญญา [Srithanya stress scale]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2551;16(3):177-85.

Lotrakul M, Sumrithe S, Saipanish R. Reliability and validity of the Thai version of the PHQ-9. BMC Psychiatry. 2008;8:46. doi:10.1186/1471-244X-8-46.

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 [Coronavirus 2019 disease situation] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2565]. จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/intro.php

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) pandemic [internet]. Geneva: World Health Organization; 2023 [cited 2023 May 5]. Available from: https://www.who.int/europe/emergencies/situations/covid-19

World Health Organization. Who declares the outbreak of the new coronavirus is a Pandemic? [internet]. Geneva: World Health Organization; 2020 [cited 2023 May 20]. Available from: https://www.theverge.com/2020/3/11/21156325/coronavirus-pandemic-who-declares-covid-19-outbreak-global-h1n1

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวง เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2563 [Notification of the ministry regarding territories outside the kingdom of Thailand defined as disease infected zones of the coronavirus disease 2019 (covid-19) outbreak] [อินเทอร์เน็ต]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 52 ง (ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563) [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2565]. จาก: https://data.thailand.opendevelopmentmekong.net/th/laws_record/notification-of-the-ministry-of-public-health-re-territories-outside-the-kingdom-of-thailand-define

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต, บรรณาธิการ. แผนและมาตรการ Endemic การบริหารจัดการสถานการณ์ โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น [Endemic approach to COVID-19]. นนทบุรี: สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง [Coronavirus disease 2019 (COVID-19) public health measures and problems, obstacles, disease prevention and control in travelers] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กลุ่ม; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565]. จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, ทัชชา ม่านตา, บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อโรคไม่ติดต่อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 [Report on the impact situation from the COVID-19 outbreak on non-communicable diseases and related factors in Thailand, January 2020 to November 2021]. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2565.

ฐิติพร ลุแก้ว. Policy Brief: ฉบับที่ 140: ผลพวงต่อ ‘สุขภาพจิต’ ภายใต้มาตรการควบคุมโควิด-19 กับปัญหา ‘การฆ่าตัวตาย’ ที่ต้องเฝ้าระวัง [Impact on 'mental health' under COVID-19 control measures and the problem of 'suicide' that must be monitored] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP); 2565 [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565]. จาก: https://www.hitap.net/documents/184067

Saeed BA, Ismael SK, Amin RM, Mahmud NM, Al-Banna DA, Shabila NP. Prevalence and determinants of anxiety and stress in the general population during COVID-19 pandemic in Iraq: a cross-sectional study. PLoS One. 2023;18(4):e0283260. doi:10.1371/journal.pone.0283260.

Khademian F, Delavari S, Koohjani Z, Khademian Z. An investigation of depression, anxiety, and stress and its relating factors during COVID-19 pandemic in Iran. BMC Public Health. 2021;21(1):275. doi:10.1186/s12889-021-10329-3.

ศุภวิชย์ บุญดีสกุลโชค, ศรัณย์ วีรเมธาชัย, ธนกมณ ลีศรี. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโควิด 19 ณ โรงพยาบาลสนาม เครือข่ายโรงพยาบาลสระบุรี [Prevalence and associated factors of stress and depression among SARS-Cov-2 patient in field hospital, Saraburi hospital]. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;6(2):367-79.

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ [Prevalence and factors associated with stress and depression in COVID-19 pandemic among residents of Tung Seaw primacy care clinic, Sanpathong district, Chiang Mai provinc]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2564;29(1):12-21.

Garcia Colato E, Ludema C, Rosenberg M, Kianersi S, Luetke M, Chen C, et al. The association between social factors and COVID-19 protective behaviors and depression and stress among midwestern US college students. PLoS One. 2022;17(12):e0279340. doi:10.1371/journal.pone.0279340.

Barlattani T, D'Amelio C, Capelli F, Mantenuto S, Rossi R, Socci V, et al. Suicide and COVID-19: a rapid scoping review. Ann Gen Psychiatry. 2023;22(1):10. doi:10.1186/s12991-023-00441-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-27