ปัจจัยทำนายความสำเร็จในการหยุดใช้เมทแอมเฟตามีนระหว่างเข้ารับการบริการเมทริกซ์โปรแกรม

ผู้แต่ง

  • มนฤดี วงศ์จิตรัตน์, พ.บ. โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

การหยุดใช้สาร, ปัจจัยทำนาย, เมทริกซ์โปรแกรม, เมทแอมเฟตามีน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการหยุดใช้เมทแอมเฟตามีนระหว่างเข้ารับบริการจิตสังคมบำบัด และ 2) เพื่อศึกษาอัตราการหยุดใช้เมทแอมเฟตามีนหลังเข้ารับบริการครบ 1 ปี

วิธีการ : การศึกษาแบบ exploratory retrospective cohort study ในผู้ใช้เมทแอมเฟตามีนที่มารับบริการจิตสังคมบำบัดแบบผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหนองคาย ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เกณฑ์คัดออก คือ มีข้อมูลปัจจัยที่สนใจไม่ครบถ้วนหรือไม่มีผลตรวจสารเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ทะเบียนผู้มารับบริการเมทริกซ์โปรแกรม ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.) ทะเบียนการติดตามหลังรับบริการ และทะเบียนการติดตามหลังรับบริการของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดหนองคาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบของฟิชเชอร์ การทดสอบที และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก

ผล : กลุ่มตัวอย่าง 336 คน หยุดใช้เมทแอมเฟตามีนในระหว่างเข้ารับการบริการร้อยละ 80 ปัจจัยทำนายการหยุดใช้เมทแอมเฟตามีน ได้แก่ การไม่ใช้สารเสพติดอื่นร่วม (AOR = 29.9, 95% CI = 1.80 - 495.83) การใช้สารเสพติดอื่นร่วมเพียงชนิดเดียว (AOR = 7.0, 95% CI = 1.03 - 47.85) การไม่เคยเข้ารับการบำบัดมาก่อน (AOR = 2.0, 95% CI = 1.03 - 47.85) และการเข้ารับบริการครบตามโปรแกรม (AOR = 4.0, 95% CI = 2.2 - 7.41) โดยร่วมกันทำนายการหยุดใช้เมทแอมเฟตามีนได้พอสมควร (area under the ROC curve = 0.69) เมื่อติดตามหลังรับบริการครบ 1 ปี พบว่า ร้อยละ 56 ของผู้ที่เข้าโปรแกรมครบยังคงหยุดใช้เมทแอมเฟตามีน

สรุป : เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการหยุดใช้เมทแอมเฟตามีน ควรให้การบำบัดสารเสพติดอื่นที่ใช้ร่วมด้วย สำรวจและร่วมกันแก้ปัญหาที่ทำให้กลับมารับการบำบัดซ้ำ รวมถึงมีมาตรการให้เข้ารับบริการครบถ้วนตามโปรแกรม

Downloads

Download data is not yet available.

References

United Nations Office on Drugs and Crime. World drug report 2020. Wien: United Nations Office on Drugs and Crime; 2020.

รัศมน กัลยาศิริ. การเสพติดและผลแทรกซ้อนทางจิตเวช [Addiction and psychiatric complications]. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

Kanato M, Sarasiri R, Leyatikul P. ASEAN drug monitoring report 2020. Bangkok: ASEAN Narcotics Cooperation Center; 2021.

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.) [National drug addiction treatment and rehabilitation information system]. นนทบุรี: ศูนย์; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2565]. จาก: https://antidrugnew-test.moph.go.th/.

ภัทราภรณ์ กินร, อภิชาติ เรณูวัฒนานนท์, วันเพ็ญ ใจปทุม, บรรณาธิการ. องค์ความรู้พื้นฐาน : การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติดแบบผู้ป่วยนอกตามรูปแบบแมทริกซ์โปรแกรม [Basic Knowledge: outpatient drug and substance addicts rehabilitation treatment based on Program Matrix model]. ปทุมธานี: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์; 2563.

นริศรา งามขจรวิวัฒน์, สุนทรพจน์ ชูช่วย, สุพิศพร แก้วชื่น. การประเมิน การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกรูปแบบ กาย จิต สังคมบำบัด (Matrix Program) โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานีปีงบประมาณ พ.ศ.2562-2563 [Technology Assessment of Matrix program in Thanyarak Pattani Hospital, in 2019-2020]. ปัตตานี: โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี; 2563.

Harada T. [The randomized controlled trial of the prison-based Japanese Matrix Program (J-MAT) for methamphetamine abusers]. Nihon Arukoru Yakubutsu Igakkai Zasshi. 2012;47(6):298-307. Japanese.

Myers B, Koch J.R, Johnson K, Harker N. Factors associated with patient-reported experiences and outcomes of substance use disorder treatment in Cape Town, South Africa. Addict Sci Clin Pract. 2022;17(8) . doi:10.1186/s13722-022-00289-3.

Amiri Z, Mirzaee B, Sabet M. Evaluating the efficacy of Regulated 12-Session Matrix Model in reducing susceptibility in methamphetamine-dependent individuals. International Journal of Medical Research & Health Sciences. 2016;5(2):77-85.

AshaRani PV, Hombali A, Seow E, Ong WJ, Tan JH, Subramaniam M. Non-pharmacological interventions for methamphetamine use disorder: a systematic review. Drug Alcohol Depend. 2020;212:108060. doi:10.1016/j.drugalcdep.2020.108060.

สวัสดิ์ อุ่นใจ, กิจวัฒ นาถวิล, ญาธษา พันวิไล, สุกัญญา กาญจนบัตร, มานพ คณะโต. การประเมินการใช้แมทริกซ์โปรแกรมในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 7 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน [Evaluation of matrix program on drugs abuse in hospitals under office of the permanent secretary: 7 province northeast]. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560;5(4):661-81.

ธัญญาพร สายโน, ปวีณา ลิมปิทีปราการ, อรุณ บุญสร้าง, ปัณฑิตา สุขุมาลย์, พลากร สืบสำราญ. ผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดประยุกต์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี [The effect of modified Matrix program for drug addiction treatment in Detudom royal crown prince hospital, Ubon Rachathani]. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2564;4(2):78-88.

อารี สุภาวงศ์. ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดแบบประยุกต์ โรงพยาบาลทุ่งสง [The effectiveness of modified Matrix program drug treatment of Thungsong Hospital].พยาบาลสงขลานครินทร์. 2559;36:160-9.

Nagy NES, Ella EIA, Shorab EM, Moneam MHEDA, Tohamy AA. Assessment of addiction management program and predictors of relapse among inpatients of the psychiatric institute at Ain Shams university hospital. Middle East Curr Psychiatry. 2022;29(1):80. doi:10.1186/s43045-022-00246-5.

McKetin R, Kothe A, Baker AL, Lee NK, Ross J, Lubman DI. Predicting abstinence from methamphetamine use after residential rehabilitation: findings from the methamphetamine treatment evaluation study. Drug Alcohol Rev. 2018;37(1):70-8. doi:10.1111/dar.12528.

ศุภฤกษ์ นากดิลก. อุบัติการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนซ้ำในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) [The study of incident rate with relapse use of methamphetamine at Princess Mother National institute on drug abuse treatment (PMNIDAT)]. วารสารวิชาการยาเสพติด. 2563;6(1):47-58.

สุกัญญา กาณจนบัตร. ศึกษาปัจจัยทำนายของการกลับไปเสพเมทแอมเฟตามีนซ้ำในผู้รับการบำบัดยาเสพติดของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในประเทศไทย [Study on factors predicting for repeated methamphetamine among Drug Addiction Patient of Thanyarak hospital in Thailand]. อุดรธานี: โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี; 2562.

ศิริลักษณ์ ปัญญา, เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง, นภาจันทร์ ชาปลิก, สุกัญญา กาญจนบัตร, จริยา มงคลสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจิตสังคม และปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับการกลับมาเสพยาซ้ำของผู้กลับไปเสพเมทแอมเฟตามีนซ้ำในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ [The relationship between personal factors, psychosocial factors, and environmental factors among repeated methamphetamine recurrence in Thanyarak hospital]. พยาบาลสาร. 2564;48(2):273-82.

Moeeni M, Razaghi EM, Ponnet K, Torabi F, Shafiee SA, Pashaei T. Predictors of time to relapse in amphetamine-type substance users in the matrix treatment program in Iran: a cox proportional hazard model application. BMC Psychiatry. 2016;16:265. doi:10.1186/s12888-016-0973-8.

Bujarski S, Roche DJ, Lunny K, Moallem NR, Courtney KE, Allen V, et al. The relationship between methamphetamine and alcohol use in a community sample of methamphetamine users. Drug Alcohol Depend. 2014;142:127-32. doi:10.1016/j.drugalcdep.2014.06.004.

Saloner R, Paolillo EW, Umlauf A, Moore DJ, Heaton RK, Grant I, et al. Conditional effects of lifetime alcohol consumption on methamphetamine-associated neurocognitive performance. J Int Neuropsychol Soc. 2019;25(8):787-99. doi:10.1017/S1355617719000493.

Kline HL, Yamamoto BK. The effects of alcohol drinking on subsequent methamphetamine self-administration and relapse in adolescent female rats. Behav Brain Res. 2022;422:113771. doi:10.1016/j.bbr.2022.113771.

Blaker AL, Yamamoto BK. Methamphetamine-induced brain injury and alcohol drinking. J Neuroimmune Pharmacol. 2018;13(1):53-63. doi:10.1007/s11481-017-9764-3.

Volkow ND, Michaelides M, Baler R. The neuroscience of drug reward and addiction. Physiol Rev. 2019;99(4):2115-40. doi:10.1152/physrev.00014.2018.

Pittenger ST, Chou S, Barrett ST, Catalano I, Lydiatt M, Bevins RA. Nicotine- and cocaine-triggered methamphetamine reinstatement in female and male Sprague-Dawley rats. Pharmacol Biochem Behav. 2017;159:69-75. doi:10.1016/j.pbb.2017.07.003.

กุลนรี หาญพัฒนชัยกร, เนาวรัตน์ เกษมพร, ภาสินี โทอินทร์, นวลละออง ทองโคตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดรักษายาเสพติดซ้ำของผู้ติดยาเสพติด [Factors affecting the readmission of patients recovering from drug addiction]. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564;15(2):1-12.

กัญญา ภู่ระหงษ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสพซ้ำของผู้ติดยาเสพติดในเขตจังหวัดปทุมธานี [Factors affecting relapsing drug addicted patients in Pathumthani province]. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2561;32(2):24-40.

ศักดิ์ชัย ไชยมหาพฤกษ์. ระบาดวิทยาและสถิติ [Epidemiology and statistics]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-18