ความสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมินพลังใจ ฉบับ 3 ข้อ กับการคัดกรองความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตตามกลุ่มวัย

ผู้แต่ง

  • เทอดศักดิ์ เดชคง, พ.บ. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • ศรัณยพิชญ์ อักษร, พย.ม. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • พาสนา คุณาธิวัฒน์, ศศ.ม. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • ขวัญเรือน อัศดรศักดิ์, ศศ.ม. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ธิดารัตน์ ทิพโชติ, ส.ม. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

ความเครียด, ความสัมพันธ์, ฆ่าตัวตาย, ซึมเศร้า, พลังใจ, หมดไฟ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมินพลังใจ ฉบับ 3 ข้อ กับการคัดกรองความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตตามกลุ่มวัย

วิธีการ : ใช้ข้อมูลทุติยภูมิการคัดกรองสุขภาพจิตเบื้องต้นในการสำรวจประชาชนทั่วไปแบบเร่งด่วนในพื้นที่เจาะจง (rapid emergency response survey, sentinel surveillance) ผ่านโปรแกรม Mental Health Check-In ใน 13 เขตสุขภาพ ระหว่าง 1 กันยายน ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ระดับพลังใจและความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตตามกลุ่มวัยด้วยสถิติพรรณนา ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมินพลังใจ ฉบับ 3 ข้อ กับการคัดกรองความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ ความเครียด ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ ความเสี่ยงซึมเศร้า และความเสี่ยงฆ่าตัวตายด้วยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และหาจุดตัดที่เหมาะสมสำหรับการเฝ้าระวังความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตด้วยการคำนวณพื้นที่ใต้กราฟ ความไว ความจำเพาะ ค่า diagnostic odds ratio และค่าดัชนี Youden 

ผล : ผู้ตอบแบบประเมินครบถ้วน 8,337 คน แบ่งเป็นกลุ่มเยาวชน (13 - 19 ปี) 1,419 คน กลุ่มวัยทำงาน (20 - 59 ปี) 5,793 คน และกลุ่มวัยสูงอายุ (60 - 80 ปี) 1,125 คน พบว่ากลุ่มวัยสูงอายุมีพลังใจระดับสูงมากที่สุด กลุ่มวัยทำงานมีพลังใจระดับสูงและระดับปานกลางมากที่สุด และกลุ่มเยาวชนมีพลังใจระดับปานกลางและระดับต่ำมากที่สุด พลังใจมีความสัมพันธ์ เชิงลบกับความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต มีค่าความสัมพันธ์ระหว่าง .372 - .627 โดยกลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มวัยสูงอายุที่มีพลังใจต่ำกว่า 21, 18, และ 15 คะแนน ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต

สรุป : สามารถใช้แบบประเมินพลังใจ ฉบับ 3 ข้อ เพื่อเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตหรือใช้ควบคู่กับการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตเพื่อเพิ่มความแม่นยำของการคัดกรอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

American Psychological Association. The road to resilience. Washington DC: American Psychological Association; 2014.

Ungar M. The social ecology of resilience: addressing contextual and cultural ambiguity of a nascent construct. Am J Orthopsychiatry. 2011;81(1):1-17. doi:10.1111/j.1939-0025.2010.01067.x.

Grotberg E. A guide to promoting resilience in children: strengthening the human spirit. The Hague: Bernard van Leer Foundation; 1995.

สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต [RQ: resilience quotient]. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด; 2563.

Grotberg E. Typing your inner strength: how to find the resilience to dial with anything. Oakland: New Harbinger Pubns Inc; 1995.

Grotberg E. The international resilience project: findings from the research and the effectiveness of interventions [Internet]. Maryland: ERIC Processing and Reference Facility; 1997 [cited 2016 Jul 10]. Available from: https://eric.ed.gov/?id=ED419584

Grotberg E. I am, I have, I can: what families worldwide taught us about resilience. Reaching Today's Youth: The Community Circle of Caring Journal. 1998;2(3):36-9.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [Combat 4th wave of COVID-19: C4]. นนทบุรี: กรม; 2563.

ศุภรัตน์ เอกอัศวิน, เยาวนาฎ ผลิตนนท์เกียรติ. ความสามารถยืนหยัดเผชิญวิกฤติ [Resilience related article review]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2551;16(3):190-8.

โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ. ความแข็งแกร่งในชีวิตและภาวะซึมเศร้า ของประชาชนในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี [Resilence and depression of people in a community in Prathumthani province]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2561;32(2):84-99.

Kapıkıran Ş, Acun-Kapıkıran N. Optimism and psychological resilience in relation to depressive symptoms in university students: examining the mediating role of self-esteem. Educational Sciences: Theory & Practice. 2016;16(6):2087-10. doi:10.12738/estp.2016.6.0107.

วารีรัตน์ ถาน้อย, อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง, ภาศิษฏา อ่อนดี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล [Factors affecting the mental health of the faculty of nursing students, Mahidol university. วารสารสภาการพยาบาล. 2555;27(พิเศษ):60-76.

ปรารถนา คำมีสีนนท์, พรดุสิต คำมีสีนนท์, จิตภินันท์ โชครัศมีหิรัญ, เอมหทัย ศรีจันทร์หล้า, สุนันทา คำชมพู, วัชรีวัลย์ เสาร์แก้ว. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องของผู้พยายามฆ่าตัวตายในเขตบริการสุขภาพที่ 7 [Risk and protective factors of people who attempted suicide in the7th health district of Thailand]. วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย. 2563;1:25-40.

สมจิตร์ นคราพานิช, รัตนา พึ่งเสมา. ปัจจัยทำนายพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย [Predicting factors of resilience quotient of the first-year nursing students, the thai red cross college of nursing]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2564;35(1):128-45.

วาดฝัน ม่วงอ่ำ. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการความเครียดของทหารเรือกองทัพเรือ [Psychosocial factors relared to stress management behavior of royal Thai navy officers] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.

นครินทร์ ชุนงาม. สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา [Mental health and burnout among physicians in general hospital and community hospital in Nakhon Ratchasima province]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(4):348-59.

เปรมกมล อินไชยา, พิชญา พรรคทองสุข. บรรยากาศองค์กร ความเครียดจากงาน และการหมดไฟจากงาน ของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน [Organization climate, job stress and burnoutamong private hospital personnel]. พุทธชินราชเวชสาร. 2564;(2):217-26.

สมจินดา ชมพูนุท, วรรณเพ็ญ อินทร์แก้ว. พลังสุขภาพจิต ความฉลาดทางอารมณ์ และความเครียดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย [Resilience quotient, emotional quotient, and stress of the nursing studests, Thai red cross college of nursing]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2555;26(2):87-98.

Chaowiang K, Bundasuk T, Tuntisuwitwong S. Resilience and depressive symptoms in Thai adolescents. Journal of Nursing and Health Sciences. 2020;14(1):1-12.

Zou G, Shen X, Tian X, Liu C, Li G, Kong L, et al. Correlates of psychological distress, burnout, and resilience among Chinese female nurses. Ind Health. 2016;54(5):389-95. doi:10.2486/indhealth.2015-0103.

Ram D, Chandran S, Sadar A, Gowdappa B. Correlation of cognitive resilience, cognitive flexibility and impulsivity in attempted suicide. Indian J Psychol Med. 2019;41(4):362-7. doi:10.4103/IJPSYM.IJPSYM_189_18.

นุชนาฏ ธรรมขัน, บุรณี กาญจนถวัลย์. พลังสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษในจังหวัดนครปฐม [Resilience quotient and related factors of papers industrial employees in Nakhon Pathom province]. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2557;(4):443-55.

เทียนทอง หาระบุตร, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพลังสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน [Selected factors related to resilence quotient of schizophrenic patients’ caregivers inf community]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2556;27(3):113-24.

Sambu L, Mhongo S. Age and gender in relation to resilience after the experience of trauma among Internally Displaced Persons (IDPS) in Kiambaa Village, Eldoret East Sub-County, Kenya. Journal of Psychology and Behavioral Science. 2019;7(1).31-40.

เทอดศักดิ์ เดชคง, พาสนา คุณาธิวัฒน์, ธิดารัตน์ ทิพโชติ, ภพธร วุฒิหาร. ความตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินพลังใจฉบับ 3 ข้อ [Reliability and validity of resilience inventory 3-item version]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2022;30(4):297-306.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. Mental Health Check-In [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสุขภาพจิต; 2565 [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565]. จาก: https://checkin.dmh.go.th/dashboards

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน [Guidelines for the use of mental health tools for health personnel in community hospitals]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

จุลารักษ์ เทพกลาง. การพัฒนาระบบการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุในหน่วยงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลอุบลรัตน์จังหวัดขอนแก่น [The development of elderly depression surveillance and caring system in out patient department of Ubonratana hospital, KhonKaen province]. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(1):70-7.

อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา [Srithanya stress scale]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2551;16(3):177-85.

Maslach C, Jackson SE, Leiter MP. Burnout self-test maslach burnout inventory (MBI) [Internet]. California: Consulting Psychologists Press; 1996 [cited 2023 Mar 15]. Available from: https://www.lstmed.ac.uk/sites/default/files/content/blogs/files/MBI_self_assessment_for_organisations.pdf

McCormack H, MacIntyre T, O'Shea D, Herring M, Campbell M. The prevalence and cause(s) of burnout among applied psychologists: a systematic review. Front Psychol. 2018;9:1897. doi:10.3389/fpsyg.2018.01897.

Nagasaki K, Seo E, Maeno T, Kobayashi H. Diagnostic accuracy of the single-item measure of burnout (Japanese version) for identifying medical resident burnout. J Gen Fam Med. 2022;23(4):241-7. doi:10.1002/jgf2.535.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) ของคนในประเทศไทย พ.ศ. 2563 [Summary of key results of the mental health survey (happiness) of people in Thailand 2020]. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล๊อก; 2563.

ศรีประภา ชัยสิน. สภาพจิตใจของผู้สูงอายุ [Mental state of the elderly] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2566]. จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/07172014-1131

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-25