ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคโควิด 19 ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ณรัฐฐา หน่อพันธุ์, พ.บ. โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต https://orcid.org/0000-0002-4330-1618
  • เมตตา เลิศเกียรติรัชตะ, พย.ม. โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต
  • มาลี เกตแก้ว, พย.ม. โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

โควิด 19, จังหวัดชายแดนภาคใต้, ปัญหาสุขภาพจิต, ลองโควิด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประมาณความชุกของปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ และโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) และสำรวจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตในผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด 19 ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วิธีการ : การศึกษาแบบภาคตัดขวางในผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด 19 ในจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ประวัติขณะป่วยเป็นโรคโควิด 19 และแบบประเมินปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ แบบสอบถามอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า (Thai HADS) แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย (PSQI) แบบคัดกรองโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (2P) และแบบประเมินผลกระทบทางจิตใจหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤต 10 ข้อ (PISCES-10) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก

ผล : กลุ่มตัวอย่าง 480 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 45 - 59 ปี และไม่มีโรคประจำตัวทางจิตเวช พบความชุกปัญหาสุขภาพจิตร้อยละ 44.0 โดยเป็นปัญหานอนไม่หลับร้อยละ 36.5 ซึมเศร้าร้อยละ 14.6 วิตกกังวลร้อยละ 14.2 และ PTSD ร้อยละ 6.3 ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสการประสบปัญหาสุขภาพจิตอย่างน้อยหนึ่งชนิดหลังหายจากโรคโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ อายุ 60 ปีขึ้นไปและความรุนแรงขณะป่วยเป็นโรคโควิด 19 ระดับปานกลางถึงรุนแรง

สรุป : อาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบมากที่สุดในผู้ป่วยหลังหายจากโรคโควิด 19 อายุและความรุนแรงขณะป่วยเป็นโรคโควิด 19 มีผลต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตอย่างน้อยหนึ่งชนิด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โควิด-19 [COVID-19 situation report] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2564]. จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/.

Wang C, Pan R, Wan X, Tan Y, Xu L, Ho CS, et al. Immediate psychological responses and associated factors during the initial stage of the 2019 coronavirus disease (covid-19) epidemic among the general population in china. Int J Environ Res Public Health. 2020;17(5):1729. doi:10.3390/ijerph17051729.

Thomas D, Lawton R, Brown T, Kranton R. Prevalence, severity and distribution of depression and anxiety symptoms using observational data collected before and nine months into the COVID-19 pandemic. Lancet Reg Health Am. 2021;1:100009. doi:10.1016/j.lana.2021.100009.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลจิตใจในโรงพยาบาลสนาม ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 [Guidelines for mental care in field hospitals 1st revised edition] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2564]. จาก: http://www.mhso.dmh.go.th/fileupload/20210727717262305.pdf

ภัทิรา ตันติภาสวศิน, สิทธิชัย ตันติภาสวศิน. ภาวะโพสท์โควิด (ลองโควิด) [Post-COVID condition (Long COVID)]. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2565;47(1):67-84.

Mazza MG, De Lorenzo R, Conte C, Poletti S, Vai B, Bollettini I, et al. Anxiety and depression in COVID-19 survivors: Role of inflammatory and clinical predictors. Brain Behav Immun. 2020;89:594-600. doi:10.1016/j.bbi.2020.07.037.

Mazza MG, Palladini M, De Lorenzo R, Magnaghi C, Poletti S, Furlan R, et al. Persistent psychopathology and neurocognitive impairment in COVID-19 survivors: effect of inflammatory biomarkers at three-month follow-up. Brain Behav Immun. 2021;94:138-147. doi:10.1016/j.bbi.2021.02.021.

Xiong Q, Xu M, Li J, Liu Y, Zhang J, Xu Y, et al. Clinical sequelae of COVID-19 survivors in Wuhan, China: a single-centre longitudinal study. Clin Microbiol Infect. 2021;27(1):89-95. doi:10.1016/j.cmi.2020.09.023.

Frontera JA, Yang D, Lewis A, Patel P, Medicherla C, Arena V, et al. A prospective study of long-term outcomes among hospitalized COVID-19 patients with and without neurological complications. J Neurol Sci. 2021;426:117486. doi:10.1016/j.jns.2021.117486.

González J, Benítez ID, Carmona P, Santisteve S, Monge A, Moncusí-Moix A, et al. Pulmonary function and radiological features in survivers of critical COVID-19: a 3-month prospective cohort. Chest. 2021;160(1):187-98. doi:10.1016/j.chest.2021.02.062.

Tanriverdi A, Savci S, Kahraman BO, Ozpelit E. Extrapulmonary features of post-COVID-19 patients: muscle function, physical activity, mood, and sleep quality. Ir J Med Sci. 2021;191(3):969-75. doi:10.1007/s11845-021-02667-3.

De Lorenzo R, Conte C, Lanzani C, Benedetti F, Roveri L, Mazza MG, et al. Residual clinical damage after COVID-19: a retrospective and prospective observational cohort study. PLoS One. 2020;15(10):e0239570. doi:10.1371/journal.pone.0239570.

Poyraz BÇ, Poyraz CA, Olgun Y, Gürel Ö, Alkan S, Özdemir YE, et al. Psychiatric morbidity and protracted symptoms after COVID-19. Psychiatry Res. 2021;295:113604. doi:10.1016/j.psychres.2020.113604.

วรินทิพย์ สว่างศรี, นันทยุทธ หะสิตะเวช, ชลธิชา แย้มมา, ณัฐปพน รัตนตรัย, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์. ความชุกของการรับรู้ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในผู้ป่วยโรคโควิด 19 เขตกรุงเทพมหานคร [Prevalence of perceived stress and depression and their associated factors among COVID-19 patients in Bangkok]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2564;29(2):114-24.

A. Yamane T. Statisties: an introductory analysis. 3nd ed. New York: Harper and Row Publication; 1973.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, มาโนช หล่อตระกูล, อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. การพัฒนาแบบสอบถาม hospital anxiety and depression scale ฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง [Development of Thai version of hospital anxiety and depression scale in cancer patients]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2539;41(1):18-30.

ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์, วรัญ ตันชัยสวัสดิ์. คุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [Sleep disturbances among nurses of Songklanagarind hospital]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2540;42(3):123-31.

ตุลยา สีตสุวรรณ, สนทรรศ บุษราทิจ, พิมล รัตนาอัมพวัลย์, วัฒนชัย โชตินัยวัตรกุล. การทดสอบความเที่ยงและความตรงของแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับพิสต์เบิร์กฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนหลับ [Reliability and validity of the Thai version of the Pittsburgh sleep quality index]. จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. 2557;97(3):57-67.

โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์. การพัฒนาเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (2P). สงขลา: โรงพยาบาล; 2558.

พิทักษ์พล บุณยมาลิก. การพัฒนาแบบประเมินผลกระทบทางจิตใจ หลังเกิดเหตุการณ์วิกฤต–10 [The establishment of the psychological impact scale for crisis events-10 (PISCES-10)]. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา. 2557;15(1):8-21.

Liu D, Baumeister RF, Veilleux JC, Chen C, Liu W, Yue Y, et al. Risk factors associated with mental illness in hospital discharged patients infected with COVID-19 in Wuhan, China. Psychiatry Res. 2020;292:113297. doi:10.1016/j.psychres.2020.113297.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิบ ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต: การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ.2556 [Prevalence of mental disorders and mental health problems: Thai national mental health survey 2013]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25(1):1-19.

Sahan E, Unal SM, Kirpinar I. Can we predict who will be more anxious and depressed in the COVID-19 ward? J Psychosom Res. 2021;140:110302. doi:10.1016/j.jpsychores.2020.110302.

Hu Y, Chen Y, Zheng Y, You C, Tan J, Hu L, et al. Factors related to mental health of inpatients with COVID-19 in Wuhan, China. Brain Behav Immun. 2020;89:587-93. doi:10.1016/j.bbi.2020.07.016.

Şen DE. The Rise of anxiety disorders: Islamic understanding of anxiety and Muslim Scholar’s suggestions to cope with distress and achieve happiness. Int J Depress Anxiety. 2021;4:027. doi:10.23937/2643-4059/1710027.

ศรีสุดา วนาสีสิน, วีณา คันฉ้อง, วินีกาญจน์ คงสุวรรณ. ประสบการณ์การสร้างเสริมสุขภาพจิตตามหลักศาสนาอิสลามของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยมุสลิมที่อยู่ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบ [Mental health promotion experience based in Islamic principles among Thai Muslim university students, who encounter with unrest situation]. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2558;29(1):44-56.

ยุทธนา นรเชฏโฐ, จุฑารัตน์ ทองอินจันทร์. การอยู่ร่วมกันของคนในพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย [Coexistence of peoples in multicultural societies of Thailand]. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 2562;7(1):102-18.

Mazza MG, Palladini M, De Lorenzo R, Magnaghi C, Poletti S, Furlan R, et al. Persistent psychopathology and neurocognitive impairment in COVID-19 survivors: effect of inflammatory biomarkers at three-month follow-up. Brain Behav Immun. 2021;94:138-47. doi:10.1016/j.bbi.2021.02.021.

อธิบ ตันอารีย์, เมตตา เลิศเกียรติรัชตะ, มาลี เกตแก้ว, เจษฎา ไชยฤกษ์. ลักษณะการเผชิญเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญและภาวะซึมเศร้าในผู้ประสบภัยพิบัติ : การวิเคราะห์ระบบเฝ้าระวังสุขภาพจิตในภาวะวิกฤต [Exposure-related factors of post-traumatic stress and depression among people affected by disasters in Thailand: an analysis of the crisis mental health surveillance system]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2565;30(3):222-36.

Veazie S, Lafavor B, Vela K, Young S, Sayer NA, Carlson KF, et al. Mental health outcomes of adults hospitalized for COVID-19: a systematic review. J Affect Disord Rep. 2022;8:100312. doi:10.1016/j.jadr.2022.100312.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-18